ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ แปลและเรียบเรียงจาก They died from hopelessness โดย Voranai Vanijaka ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552, http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/22538/they-died-fromhopelessness
หมายเหตุ: ผู้แปลขออุทิศบทความแปลชิ้นนี้ให้กับอับดุล ซาลามและฮามาทูลา ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาสองคนที่เสียชีวิตในที่คุมขังของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในเดือนที่แล้ว และให้กับนโยบายทางด้านสิทธิมนุษยชนของพรรคประชาธิปัตย์ตามที่เสนอกับ กกต. เพื่อจดทะเบียนในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ที่กล่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์ให้รัฐ “มีความตระหนักในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค การไม่เลือกปฏิบัติ มาตรการพิเศษสำหรับผู้ด้อยโอกาส” ผู้แปลขอขอบคุณคุณ Voranai Vanijaka นักข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เจ้าของบทความมาอย่างสูง ณ ที่นี้ด้วย
สุภาษิตหนึ่งกล่าวว่า “เวลาจะทำให้บาดแผลทุกอย่างหายได้” ไม่เพียงเช่นนี้เวลายังทำให้คนลืมและเดินต่อไป ดังเช่นกรณีนี้ที่เวลาทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและประชาชนไทยลืมเหตุการณ์ของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาไปได้ราวกับว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้น
ก่อนกรณีสงกรานต์เลือด ก่อนการพยายามฆ่านายสนธิ ลิ้มทองกุล หรือก่อนการโฟนอินของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รวมถึงก่อนการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ที่ในขณะนี้ยังตกลงกันไม่ได้) ประเด็นโรฮิงยาเป็นประเด็นใหญ่ที่สั่นเครือรัฐบาลใหม่ของนายกฯ หนุ่มคนนี้
ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาที่ว่านี้ได้นั่งเรือมาถึงทางตอนใต้ของประเทศไทย พร้อมกันกับข่าวที่ได้พาดหัวไปทั่วโลกที่มีการอ้างถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่ของไทยซึ่งรวมไปถึงข่าวว่ามีการทรมานอย่างเป็นระบบและการส่งผู้ลี้ภัยกลับออกไปยังทะเลโดยไม่มีอาหารหรือน้ำดื่มโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ผู้ลี้ภัยเหล่านี้เสียชีวิต นายกฯ อภิสิทธิ์ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นพร้อมกับสำนักข่าวตะวันตกโดยให้สัญญาว่าจะมีการตรวจสอบกรณีที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
สื่อต่าง ๆ ได้ส่งรูปและภาพวีดีโอคลิปที่อ้างว่าได้มีการทรมานผู้ลี้ภัยโดยเจ้าหน้าที่รัฐ คณะกรรมการตรวจสอบของรัฐบาลได้เห็นว่าหลักฐานเหล่านั้นไม่เพียงพอ และหลังจากนั้นทุกคนก็ลืมเรื่องของชาวโรฮิงยาไป
พวกเราทุกคนก็ดำเนินชีวิตอย่างปกติหลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในต้นปีนี้ จนกว่ารายงานข่าวกลางเดือนสิงหาคมที่พูดถึงการเสียชีวิตของผู้ลี้ภัย (หรือ “แรงงานเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย”) ชาวโรฮิงยาสองคนในที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จังหวัดระนอง จากความเห็นขององค์กรสิทธิมนุษยชนนายอับดุล ซาลาม (อายุ 18 ปี) ได้เสียชีวิตมาแล้วสามเดือนหลังจากอ้วกออกมาเป็นเลือดหลายครั้ง ในเดือนที่แล้ว (กลางเดือนสิงหาคม) นายฮามาทูลา (อายุ 15 ปี) ได้เสียชีวิตโดยไม่มีสาเหตุใด ๆ แต่นายแพทย์ธงชัย กีรติหาตยางกูรณ์ หมอในจังหวัดระนองให้ความเห็นว่าเหตุผลของการเสียชีวิตคือการอักเสบหรือติดเชื้ออย่างรวดเร็วที่หัวใจ
มันนับเป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่าชายหนุ่มอายุ 18 และ 15 ปีจะเสียชีวิตจากหัวใจวายได้อย่างไร มันมีความเป็นไปได้มากกว่าที่พวกเขาเสียชีวิตจากการอดอาหารตามที่มีรายงานจากบางแหล่งข่าว แต่เหตุผลนี้ก็ยังถูกตั้งคำถามเนื่องจากพวกเขาได้รับอาหารตลอดที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นไปได้ไหมว่าพวกเขาอดอาหารเองเพื่อฆ่าตัวตาย? แต่เขาจะทำอย่างนั้นไปทำไมละ?
แม้ว่าหัวใจวายหรือการขาดอาหารอาจจะเป็นเหตุผลที่พวกเขาเสียชีวิต แต่เหตุผลที่แท้จริงที่พวกเขาเสียชีวิต คือ การไร้ซึ่งความหวัง รายงานข่าวจากหมอประจำสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้กล่าวว่าผู้ลี้ภัยทั้งสองคนได้รับอาหารและยารักษาโรค แม้ว่าการบริการที่เขาได้รับก็ไม่ใช่การบริการระดับห้าดาวแต่ก็ไม่น่าจะเป็นเหตุผลที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้
สิ่งที่ชาวโรฮิงยาสองคนขาด ตามแหล่งข่าวที่ว่านี้ คือ ความหวังและอนาคต
ทำไมพวกเขาถึงไร้ซึ่งความหวังละ?
นับจนถึงวันนี้เป็นระยะเวลาแปดเดือน (และกำลังเพิ่มขึ้นทุกวัน) ที่ผู้ลี้ภัยจำนวน 70 คนนี้ (ซึ่งแต่ละคนต้องจ่ายเงินค่าปรับ 2,000 บาทให้กับศาลจังหวัดระนองข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย) ต้องอัดกันอยู่อย่างยัดเยียดในห้องเดียวในอาคารสองชั้น พวกเขาเหล่านี้ไม่ใช่อาชญากรคดีร้ายแรงหรือนักโทษสงครามแต่เป็นเพียงชาวบ้านและชาวไร่จากประเทศโลกที่สามที่ได้ทนทุกข์ทรมานกับความยากจนและการถูกกดขี่ที่บ้านเกิด พวกเขามีความกล้าหาญที่จะข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อจะตามหาความหวังและโอกาสในชีวิต แต่กลับต้องถูกทรมาน (ตามการกล่าวอ้าง) โดยเจ้าหน้าที่ทหารและโยนเข้าห้องขัง พวกเขาเหล่านี้ได้นั่งอยู่เฉย ๆ เป็นระยะเวลาแปดเดือน (และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ) โดยไม่รู้ว่าจะอนาคตของพวกเขาจะเป็นอย่างไร
โลกนี้ได้ลืมพวกเขาไปแล้ว พวกเขาไม่รู้ว่าจะต้องอยู่ในคุกเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่ ไม่มีใครบอกเขาอะไรพวกเขาได้เลย แม้ว่าพวกเขาอาจจะไม่ได้ถูกกระทำทารุณกรรมในสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแต่พวกเขาได้ถูกกระทำทารุณและทอดทิ้งมาชั่วชีวิตและในระยะเวลาแปดเดือนที่ผ่านมาโดยเจ้าหน้าที่ไทยและรัฐบาลไทย
ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ถูกทอดทิ้งและกระทำทารุณกรรมเนื่องจากเจ้าหน้าที่ไทยไม่สนใจ ไม่มีเวลา หรือไม่มีความต้องการที่จะแก้ไขปัญหานี้ รัฐบาลไม่มีทิศทาง ไม่มีนโยบาย และไม่มีทางออก ชาวโรฮิงยาสองคนเสียชีวิตจากการนั่งเฉย ๆ เป็นระยะเวลาเจ็ดเดือน
จากการไร้ซึ่งความหวัง ไร้ซึ่งอนาคต พวกเขาสองคนนี้จึงถอนตัวเองออกมาจากความเป็นอยู่ หยุดการกินอาหารและหยุดซึ่งความสนใจอะไรทั้งสิ้น พวกเขาสูญเสียเป้าหมายที่จะมีชีวิตต่อไป ไม่ว่าการเสียชีวิตจะเกิดจากหัวใจวาย การอ้วกจนเสียชีวิต หรือเพียงแค่เสียชีวิตขณะนอนหลัก เหตุผลที่แท้จริงของการเสียชีวิตมีเหตุผลเดียวและเป็นเหตุผลเหมือนกัน คือ พวกเขาตายจากการไร้ซึ่งความหวัง ถ้าสถานการณ์จะไม่เปลี่ยนแปลงอะไร อับดุล ซาลามและฮามาทูลาก็จะเป็นเพียงสองคนแรกที่ต้องเสียชีวิตก่อน
ในขณะเดียวกัน ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยามากกว่า 10 คนได้ไม่สบายเนื่องจากความอ่อนเพลี้ยและการขาดอาหารจากการถูกคุมขังเป็นระยะเวลานาน ชาวโรฮิงยาที่เหลือได้ถูกย้ายมาที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ซอยสวนพลู กรุงเทพฯ
จากครั้งแรกที่ข่าวผู้ลี้ภัยโรฮิงยาที่ถูกนำเสนอกับสาธารณชนแปดเดือนที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮิงยาอย่างเดียว คือ การถูกย้ายจากที่คุมขังแห่งหนึ่งไปสู่อีกแห่งหนึ่ง ในขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรี สื่อมวลชน ประชาชนไทย และประชาคมโลกได้ก้าวเดินไปสู่เรื่องที่ “ใหญ่โต” กว่านี้ ซึ่งแน่นอนต้องรวมถึงความขัดแย้งระหว่างเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงหรือปัญหาเศรษฐกิจที่มีผลกระทบกับชีวิตเราโดยตรง สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ลี้ภัยโรฮิงยา 78 คนที่ถูกคุมขัง (ลบสอง) ยังไงก็ไม่มีผลกระทบกับชีวิตเราอยู่แล้ว
นายพิทักษ์ จารุสมบัติ ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกล่าวว่าทางสำนักงานจะไม่เปิดเผยว่าชาวโรฮิงยาจะถูกคุมขังนานแค่ไหน การที่เราไม่รู้ว่าพวกเขาจะถูกคุมขังนานแค่ไหนละคือปัญหาหลัก พวกเขาจะต้องกัดฟันทนอีกนานแค่ไหนจนกว่าพวกเขาส่วนมากจะสูญเสียความหวัง นอนรอเฉย ๆ และเหี่ยวเฉาไป
สำหรับโลกภายนอก เวลาอาจจะเปลี่ยน เวลาอาจจะเยียวยาอะไรได้ เวลาอาจจะทำให้เราลืมและก้าวเดินไป แต่สำหรับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาที่เสียชีวิตไปสองคน สำหรับพวกเขาไม่ได้มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปเลย
ในระยะเวลาเจ็ดเดือนที่พวกเขาถูกคุมขังก่อนจะเสียชีวิต อับดุล ซาลามและฮามาทูลาได้นั่งอยู่ที่เดิม มองดูกำแพงที่เดิน นั่งเฉย ๆ ในที่แคบ ๆ โดยที่ไม่มีอะไรให้ทำนอกเหนือจากดูและรำลึกถึงความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นกับร่างกายที่ถูกคุมขังในคุกและที่รุมเร้าอยู่ในจิตใจ พวกเขานั่งอยู่อย่างนั้นอย่างไร้ซึ่งความหวัง
ตีพิมพ์ครั้งแรกในประชาไท, วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552, http://www.prachatai.com/journal/2009/09/25827
Articles on politics and human rights in Burma, Thailand, and Southeast Asia
Thursday, September 17, 2009
Monday, August 24, 2009
รายงานพิเศษ : โรฮิงยาส์ คือใคร
รูปผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาส์ในบังกลาเทศ
ที่มาของภาพ http://www.zimphotography.com/editorial/publications/Yale.htm
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550 หนังสือพิมพ์มติชน ปีที่ 30 ฉบับที่ 10574 ได้ลงรายงานพิเศษ เรื่อง จับตา "ภัยความมั่นคงใหม่" "อาระกัน" "โรฮิงยา" ระวัง...เติมเชื้อไฟใต้ โดยทีมข่าวภูมิภาค ซึ่งข้อมูลหลายส่วนที่ปรากฏในบทความเป็นข้อมูลที่ไม่มีหลักฐานการยืนยัน และมีความรุนแรงเกินความเป็นจริง ซึ่งจะส่งผลกระทบกับชาวโรฮินยาส์โดยตรง รวมไปถึงความเข้าใจผิดต่อชาวมุสลิมด้วย
โรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐอารากัน (Arakan) เป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐ และในอดีตได้รับการเหยียดหยามและเลือกปฎิบัติโดยรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายแบ่งแยกแล้วปกครองของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ในสมัยที่พม่ายังตกเป็นอาณานิคม ในหลาย ๆ กรณี ชาวโรฮิงยาส์จะได้รับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากโดยรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งมีความแตกต่างกัน ตั้งแต่การบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่
ตามกฎหมายสัญชาติพม่าปี 1982 (Burma Citizenship Law) ชาวโรฮิงยาส์ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลทหารถ้าจะออกจากพื้นที่ และต้องจ่ายเงินถ้าจะออกจากพื้นที่ ทำให้ชาวโรฮิงยาส์มีสถานภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำมากเนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือค้าขายอย่างต่อเนื่องได้ (จากรายงาน สถานการณ์ในพม่า มกราคม-ธันวาคม 2004 ขององค์การนิรโทษกรรมสากล)
ชาวโรฮิงยาส์ยังถูกละเมิดไม่ให้รับสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ ห้ามไม่ให้แต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารพม่า และ นับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสถานการณ์ความเป็นอยู่ที่เลวร้ายที่สุดในพม่า ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงยาส์ต้องหนีภัยจากพม่าเป็นจำนวนมาก หากพิจารณา ณ จุดนี้แล้วก็จะพบว่า ชาวโรฮิงยาส์เหล่านี้จึงมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย ซึ่งโดยหลักปฏิบัติของนานาชาติแล้ว ผู้ลี้ภัย หรือผู้หนีภัยความตาย จะต้องไม่ถูกส่งกลับเพื่อไปเผชิญหน้ากับภาวะความเสี่ยงต่อชีวิต และจะต้องได้รับการช่วยเหลือคุ้มครองจากประเทศที่เข้าไปลี้ภัยด้วยหลักมนุษยธรรมในฐานะมนุษยชนคนหนึ่ง
ชาวโรฮิงยาส์ มีความแตกต่างกับประชาชนในรัฐอารากัน (คือเชื้อชาติยะไข่) ทั้งในด้านเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม ภาษาที่พูด คือ ภาษาที่คล้ายกับภาษาที่พูดกันในบังกลาเทศ คือ ภาษาเบงกาลี
รัฐบาลทหารพม่ามีมุมมองว่าประชาชนชาวโรฮิงยาส์เข้ามาอยู่ในพม่าไม่นาน แต่จริง ๆ แล้วเข้ามาตั้งแต่ศตวรรษที่เจ็ด ทำให้รัฐบาลทหารมีอคติเป็นพิเศษว่าไม่ได้เป็นประชาชนชาวพม่า รวมถึงความแตกต่างในศาสนาและภาษา แต่วิถีชีวิต อีกทั้งด้วยประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางด้านเขตแดนระหว่างบังกลาเทศกับพม่าเลยทำให้ชาวโรฮิงยาส์ถูกมองว่าเป็นอื่นมากกว่าเดิม
ปัจจุบันในรัฐอารากันมีประชาชนทั้งหมดประมาณสามล้านคน และประชากรระหว่างเจ็ดแสนถึง 1 ล้านกว่าเป็นชาวโรฮิงยาส์ ในปี 1992 กระทรวงต่างประเทศของ SPDC ได้ออกแถลงการณ์ไม่รวมชาวโรฮิงยาส์ไว้ใน 135 เชื้อชาติในพม่า และจะไม่ให้การช่วยเหลือใด ๆ ทั้งสิ้น
และในปี 1978 รัฐบาลทหารพม่ามีนโยบาย "สร้างชาติพม่า" ที่เพื่อที่จะ "กำจัดชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย" ทำให้ชาวโรฮิงยาส์ได้รับผลกระทบอย่างมาก
ชาวโรฮิงยาส์อยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาหลายปีแล้วไม่ใช่ว่าเพิ่งเข้ามา หลาย ๆ ส่วนมีส่วนร่วมในขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าในปี ค.ศ. 1988 แต่ด้วยวิถีชีวิตที่นับถือศาสนามุสลิมทำให้มีข้อจำกัด
ปัจจุบันมีชาวโรฮิงยาส์ที่หลบภัยออกมาจากรัฐอารากันจำนวนมาก ตั้งแต่ในบังกลาเทศ ปากีสถาน มาเลเซีย และเชื่อว่ามีจำนวนมากกว่าหนึ่งหมื่นคนในประเทศไทย แต่สถานการณ์ในประเทศไทยนับว่าค่อนข้างจะเลวร้ายเช่นเดียวกัน เนื่องจากกลุ่มชนกลุ่มน้อย 14 กลุ่มที่รัฐบาลไทยกำลังตรวจสถานภาพทางกฎหมาย ชาวโรฮิงยาส์ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ทั้ง ๆ ที่ในกลุ่มนี้มีประชาชนชาวพม่าอยู่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ไทยยังมีความรู้เกี่ยวกับชาวโรฮิงยาส์น้อยเลยไม่ได้รับสิทธิใด ๆ เลย
อย่างที่กล่าวมาข้างต้น การที่ชาวโรฮินยาส์เข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ก็เนื่องด้วยต้องการหนีความยากลำบากที่เกิดจากการถูกกดขี่โดยรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ซึ่งการเข้ามาของชาวโรฮิงยาส์ในประเทศไทยก็ไม่แตกต่างชนชาติอื่นๆ ในพม่าตอนนี้ ร่วมถึงการเดินทางเข้ามาในอดีตของชาวอินเดีย ชาวจีน ชาวเวียดนาม บ้างก็หนีภัยสงคราม บ้างก็หนีการกดขี่ข่มเหง บ้างก็หนีความอดยาก ซึ่งก็ไม่ต่างจากปัจจุบันของคนไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศหลายหมื่นคน ก็ต้องการหนีความยากลำบากเช่นเดียวกัน การเขียนบทความชิ้นนี้ก็ด้วยความหวังว่าประชาชนไทยจะต้อนรับผู้ที่เดือดร้อนจากความทุกข์ยาก ให้สามารถมีชีวิตที่ปกติสุขในประเทศไทยได้ ไม่ใช่จะต้อนรับแต่เพียงนายทุนกับนักท่องเที่ยวรวยๆ เพียงอย่างเดียว เพราะในร่างกายของเราทุกคนที่เป็นเชื้อชาติไทย แต่ในความเป็นจริงกลับมีเชื้อชาติต่างๆอยู่ในร่างกายหลายเชื้อชาติ การเข้ามาในประเทศไทยของคนชื้อชาติต่างๆมีมานานแล้ว มิหนำซ้ำคนเหล่านี้ก็ได้มาสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้กับสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบันด้วย
การที่รายงานพิเศษของหนังสือพิมพ์มติชนพยายามที่จะเชื่อมโยงชาวโรฮิงยาส์ที่เข้าเมืองผิดกฎหมายเข้ากับขบวนการที่ผิดกฎหมายและปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะเท่าที่เรารับรู้กันแรงงานข้ามชาติกลุ่มต่างๆ ที่เข้ามาให้ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นคนที่ทำงานสุจริต เช่น ทำงานบ้าน ทำงานในโรงงาน ทำงานในภาคอุตสาหกรรมประมง ทำงานก่อสร้าง ทำงานในร้านอาหาร เป็นต้นและด้วยเหตุผลที่แรงงานเหล่านี้มีสถานะที่ผิดกฎหมาย จึงเป็นช่องทางให้เกิดการโดนกดขี่จากนายจ้างและเจ้าหน้าที่รัฐบางคนอีกด้วย
เมื่อพูดถึงการทำงานที่ผิดกฎหมายในหมู่บุคคลที่เข้าเมืองผิดกฎหมายก็อาจจะมีบ้างเช่นเดียวกับสังคมทุกสังคม และก็เช่นเดียวกับสังคมไทยด้วย แต่เราจะต้องไม่เหมารวมทั้งหมด เพราะมันเป็นเรื่องของบุคคลไม่ใช่เชื้อชาติ เช่นเดียวกันในรายงานของมติชน พยายามที่จะเชื่อมโยงชาวโรฮิงยาส์เข้ากับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการมองด้วยทัศนคติ "มุสลิมเท่ากับการก่อการร้าย" ซึ่งการมองเช่นนี้เป็นการมองที่ไม่เข้าใจสถานการณ์ในภาคใต้แล้ว ยังเป็นการมองที่ช่วยสนับสนุนการเกลียดชังกันทางเชื้อชาติเพิ่มขึ้นด้วย เพราะคนมุสลิมถูกกดขี่จริงในภาคใต้และการถูกกดขี่ก็เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐไทย แต่การต่อสู้เพื่อต้องการปลดปล่อยจากการกดขี่นั้นมีหลายแนวคิด เหตุการณ์ที่เกิดในภาคใต้ก็เป็นเพียงแนวคิดหนึ่ง และใช่ว่าคนมุสลิมทุกคนจะเห็นด้วยกับวิธีการการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในภาคใต้ แต่การที่คนมุสลิมจะเห็นใจกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันก็เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นผมหวังว่ารัฐบาลไทยจะไม่ใช้ข้ออ้างนี้ในการผลักดันชาวโรฮิงยาส์ไปเผชิญหน้ากับความตายในประเทศพม่า ซึ่งเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมอย่างยิ่ง
บทความนี้เขียนกับ จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ, พิมพ์ในประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์, วันที่ 3 มีนาคม 2007, http://www.prachatai.com/journal/2007/03/11803
โรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐอารากัน (Arakan) เป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐ และในอดีตได้รับการเหยียดหยามและเลือกปฎิบัติโดยรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายแบ่งแยกแล้วปกครองของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ในสมัยที่พม่ายังตกเป็นอาณานิคม ในหลาย ๆ กรณี ชาวโรฮิงยาส์จะได้รับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากโดยรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งมีความแตกต่างกัน ตั้งแต่การบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่
ตามกฎหมายสัญชาติพม่าปี 1982 (Burma Citizenship Law) ชาวโรฮิงยาส์ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลทหารถ้าจะออกจากพื้นที่ และต้องจ่ายเงินถ้าจะออกจากพื้นที่ ทำให้ชาวโรฮิงยาส์มีสถานภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำมากเนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือค้าขายอย่างต่อเนื่องได้ (จากรายงาน สถานการณ์ในพม่า มกราคม-ธันวาคม 2004 ขององค์การนิรโทษกรรมสากล)
ชาวโรฮิงยาส์ยังถูกละเมิดไม่ให้รับสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ ห้ามไม่ให้แต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารพม่า และ นับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสถานการณ์ความเป็นอยู่ที่เลวร้ายที่สุดในพม่า ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงยาส์ต้องหนีภัยจากพม่าเป็นจำนวนมาก หากพิจารณา ณ จุดนี้แล้วก็จะพบว่า ชาวโรฮิงยาส์เหล่านี้จึงมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย ซึ่งโดยหลักปฏิบัติของนานาชาติแล้ว ผู้ลี้ภัย หรือผู้หนีภัยความตาย จะต้องไม่ถูกส่งกลับเพื่อไปเผชิญหน้ากับภาวะความเสี่ยงต่อชีวิต และจะต้องได้รับการช่วยเหลือคุ้มครองจากประเทศที่เข้าไปลี้ภัยด้วยหลักมนุษยธรรมในฐานะมนุษยชนคนหนึ่ง
ชาวโรฮิงยาส์ มีความแตกต่างกับประชาชนในรัฐอารากัน (คือเชื้อชาติยะไข่) ทั้งในด้านเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม ภาษาที่พูด คือ ภาษาที่คล้ายกับภาษาที่พูดกันในบังกลาเทศ คือ ภาษาเบงกาลี
รัฐบาลทหารพม่ามีมุมมองว่าประชาชนชาวโรฮิงยาส์เข้ามาอยู่ในพม่าไม่นาน แต่จริง ๆ แล้วเข้ามาตั้งแต่ศตวรรษที่เจ็ด ทำให้รัฐบาลทหารมีอคติเป็นพิเศษว่าไม่ได้เป็นประชาชนชาวพม่า รวมถึงความแตกต่างในศาสนาและภาษา แต่วิถีชีวิต อีกทั้งด้วยประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางด้านเขตแดนระหว่างบังกลาเทศกับพม่าเลยทำให้ชาวโรฮิงยาส์ถูกมองว่าเป็นอื่นมากกว่าเดิม
ปัจจุบันในรัฐอารากันมีประชาชนทั้งหมดประมาณสามล้านคน และประชากรระหว่างเจ็ดแสนถึง 1 ล้านกว่าเป็นชาวโรฮิงยาส์ ในปี 1992 กระทรวงต่างประเทศของ SPDC ได้ออกแถลงการณ์ไม่รวมชาวโรฮิงยาส์ไว้ใน 135 เชื้อชาติในพม่า และจะไม่ให้การช่วยเหลือใด ๆ ทั้งสิ้น
และในปี 1978 รัฐบาลทหารพม่ามีนโยบาย "สร้างชาติพม่า" ที่เพื่อที่จะ "กำจัดชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย" ทำให้ชาวโรฮิงยาส์ได้รับผลกระทบอย่างมาก
ชาวโรฮิงยาส์อยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาหลายปีแล้วไม่ใช่ว่าเพิ่งเข้ามา หลาย ๆ ส่วนมีส่วนร่วมในขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าในปี ค.ศ. 1988 แต่ด้วยวิถีชีวิตที่นับถือศาสนามุสลิมทำให้มีข้อจำกัด
ปัจจุบันมีชาวโรฮิงยาส์ที่หลบภัยออกมาจากรัฐอารากันจำนวนมาก ตั้งแต่ในบังกลาเทศ ปากีสถาน มาเลเซีย และเชื่อว่ามีจำนวนมากกว่าหนึ่งหมื่นคนในประเทศไทย แต่สถานการณ์ในประเทศไทยนับว่าค่อนข้างจะเลวร้ายเช่นเดียวกัน เนื่องจากกลุ่มชนกลุ่มน้อย 14 กลุ่มที่รัฐบาลไทยกำลังตรวจสถานภาพทางกฎหมาย ชาวโรฮิงยาส์ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ทั้ง ๆ ที่ในกลุ่มนี้มีประชาชนชาวพม่าอยู่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ไทยยังมีความรู้เกี่ยวกับชาวโรฮิงยาส์น้อยเลยไม่ได้รับสิทธิใด ๆ เลย
อย่างที่กล่าวมาข้างต้น การที่ชาวโรฮินยาส์เข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ก็เนื่องด้วยต้องการหนีความยากลำบากที่เกิดจากการถูกกดขี่โดยรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ซึ่งการเข้ามาของชาวโรฮิงยาส์ในประเทศไทยก็ไม่แตกต่างชนชาติอื่นๆ ในพม่าตอนนี้ ร่วมถึงการเดินทางเข้ามาในอดีตของชาวอินเดีย ชาวจีน ชาวเวียดนาม บ้างก็หนีภัยสงคราม บ้างก็หนีการกดขี่ข่มเหง บ้างก็หนีความอดยาก ซึ่งก็ไม่ต่างจากปัจจุบันของคนไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศหลายหมื่นคน ก็ต้องการหนีความยากลำบากเช่นเดียวกัน การเขียนบทความชิ้นนี้ก็ด้วยความหวังว่าประชาชนไทยจะต้อนรับผู้ที่เดือดร้อนจากความทุกข์ยาก ให้สามารถมีชีวิตที่ปกติสุขในประเทศไทยได้ ไม่ใช่จะต้อนรับแต่เพียงนายทุนกับนักท่องเที่ยวรวยๆ เพียงอย่างเดียว เพราะในร่างกายของเราทุกคนที่เป็นเชื้อชาติไทย แต่ในความเป็นจริงกลับมีเชื้อชาติต่างๆอยู่ในร่างกายหลายเชื้อชาติ การเข้ามาในประเทศไทยของคนชื้อชาติต่างๆมีมานานแล้ว มิหนำซ้ำคนเหล่านี้ก็ได้มาสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้กับสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบันด้วย
การที่รายงานพิเศษของหนังสือพิมพ์มติชนพยายามที่จะเชื่อมโยงชาวโรฮิงยาส์ที่เข้าเมืองผิดกฎหมายเข้ากับขบวนการที่ผิดกฎหมายและปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะเท่าที่เรารับรู้กันแรงงานข้ามชาติกลุ่มต่างๆ ที่เข้ามาให้ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นคนที่ทำงานสุจริต เช่น ทำงานบ้าน ทำงานในโรงงาน ทำงานในภาคอุตสาหกรรมประมง ทำงานก่อสร้าง ทำงานในร้านอาหาร เป็นต้นและด้วยเหตุผลที่แรงงานเหล่านี้มีสถานะที่ผิดกฎหมาย จึงเป็นช่องทางให้เกิดการโดนกดขี่จากนายจ้างและเจ้าหน้าที่รัฐบางคนอีกด้วย
เมื่อพูดถึงการทำงานที่ผิดกฎหมายในหมู่บุคคลที่เข้าเมืองผิดกฎหมายก็อาจจะมีบ้างเช่นเดียวกับสังคมทุกสังคม และก็เช่นเดียวกับสังคมไทยด้วย แต่เราจะต้องไม่เหมารวมทั้งหมด เพราะมันเป็นเรื่องของบุคคลไม่ใช่เชื้อชาติ เช่นเดียวกันในรายงานของมติชน พยายามที่จะเชื่อมโยงชาวโรฮิงยาส์เข้ากับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการมองด้วยทัศนคติ "มุสลิมเท่ากับการก่อการร้าย" ซึ่งการมองเช่นนี้เป็นการมองที่ไม่เข้าใจสถานการณ์ในภาคใต้แล้ว ยังเป็นการมองที่ช่วยสนับสนุนการเกลียดชังกันทางเชื้อชาติเพิ่มขึ้นด้วย เพราะคนมุสลิมถูกกดขี่จริงในภาคใต้และการถูกกดขี่ก็เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐไทย แต่การต่อสู้เพื่อต้องการปลดปล่อยจากการกดขี่นั้นมีหลายแนวคิด เหตุการณ์ที่เกิดในภาคใต้ก็เป็นเพียงแนวคิดหนึ่ง และใช่ว่าคนมุสลิมทุกคนจะเห็นด้วยกับวิธีการการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในภาคใต้ แต่การที่คนมุสลิมจะเห็นใจกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันก็เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นผมหวังว่ารัฐบาลไทยจะไม่ใช้ข้ออ้างนี้ในการผลักดันชาวโรฮิงยาส์ไปเผชิญหน้ากับความตายในประเทศพม่า ซึ่งเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมอย่างยิ่ง
บทความนี้เขียนกับ จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ, พิมพ์ในประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์, วันที่ 3 มีนาคม 2007, http://www.prachatai.com/journal/2007/03/11803
'พระนเรศวรมหาราช' เมื่อไหร่ 'ประวัติศาสตร์ชาตินิยม' จะหมดไป
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ไปช่วยอบรมน้อง ๆ จากโรงเรียนมัธยมต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่สวนรถไฟ หลังจากได้รับการชวนจากเพื่อนที่ทำงานอยู่ที่องค์การนิรโทษกรรมสากล (ประเทศไทย) ในหัวข้อสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน โดยมีกิจกรรมหลาย ๆ อย่างที่ทางผู้จัดได้คิดขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างมุมมองทางสิทธิมนุษยชนให้กับน้อง ๆ
โดยผมได้ประจำฐานอยู่ที่ฐานเรือมนุษย์ ซึ่งเป็นเกมส์ที่องค์กรทางด้านสิทธิมนุษยชนจนถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้อย่างใช้อย่างบ่อยครั้ง ในการอบรมประชาชนทั่ว ๆ ไป ซึ่งเกมส์นี้จะอธิบายสถานการณ์อย่างหนึ่งว่า ขณะที่เรือลำหนึ่งกำลังนำผู้โดยสารจำนวนแปดคน ซึ่งประกอบไปด้วยคนหลากหลายอาชีพ หลายอายุ สถานภาพที่ไม่เหมือนกันลงเรือ (เช่น เด็ก คนชรา ผู้ป่วยโรคเอดส์ ฝรั่ง คนงาน นักการเมือง) และเรือลำนี้กำลังจม เราจะตัดสินให้ใครลงแพ เพื่อให้รอดชีวิต (ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะมีคำอธิบายว่า สิ่งที่มนุษย์ทุกคนมีเหมือนกันทุกคนรักชีวิตเหมือนกันและมีสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันโดยที่ไม่มีใครสามารถเอาสิ่งนี้จากเราไปได้ ซึ่งเป็นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน)
ผมกับพี่ที่เป็นเจ้าหน้าที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคิดอะไรสนุก ๆ ขึ้นมา เลยตัดสินใจรวม "ผู้ลี้ภัยชาวพม่าที่หลบนี้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย" เข้าไปด้วย เพื่อทำให้สถานการณ์มีความเป็นจริงมากขึ้น เมื่อถามน้อง ๆ หน้าตาบ้องแบ้วคนหนึ่งว่า "ควรจะให้ใครอยู่บนเรือ" ผมได้คำตอบคล้าย ๆ กันจากน้อง ๆ หลาย ๆ คนว่าให้ "พม่าอยู่บนเรือ เพราะหลบนี้เข้าเมืองผิดกฎหมายบ้าง" หรือ "เพราะพม่ามาบุกตีกรุงศรีอยุธยา" แต่ "ฝรั่ง" ไม่เคยมาบุกประเทศไทย
ก่อนที่ผมจะอธิบายให้น้อง ๆ ฟังไป
"ว่าสถานการณ์ในประเทศพม่า ส่งผลให้ประชาชนชาวพม่าจำนวนหลายล้านคนต้องหนีภัยสงครามเข้ามาในเมืองไทยและว่ามันเป็นสิทธิของเขาในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ที่จะอยากมีชีวิตและเป็นหน้าที่ของรัฐบาลไทยที่ต้องให้ความช่วยเหลือคนพวกนี้ในฐานะที่ไทยเป็นภาคีต่อกติกาต่าง ๆ กับสหประชาชาติ"
ผมก็ถามน้อง ๆ พวกนี้กลับไปว่า "ทำไมถึงคิดเช่นนั้น" น้อง ๆ ก็ตอบกลับมาทันควัน โดยไม่ต้องถามว่า "พวกพม่าบุกกรุงศรีอยุธยา เผากรุงศรีอยุธยา และฆ่าคนไปเยอะ เหมือนในหนังพระนเรศวร"
ครับ...
กี่รุ่นถึงกี่รุ่น นักเรียน เยาวชนไทยก็มีอคติต่อประชาชนพม่า ผ่านการศึกษา "ประวัติศาสตร์ชาตินิยมไทย" ที่ได้รับการผลิตซ้ำ ผลิตซากอย่างต่อเนื่อง ยิ่งหลัง ๆ นี้มีภาพยนตร์ชาตินิยมไม่ว่าจะเป็นบางระจัน ศรีสุริโยไท จนถึง พระนเรศวรมหาราชที่กำลังทำเงินถล่มถลายตอนนี้ ก็เป็นเครื่องยึดถือได้ว่า มุมมองของคนไทยต่อประชาชนพม่าก็จะยังมีอคติ ความเกลียดชังอย่างต่อเนื่อง
ในฐานะที่ผมไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ ไม่ใช่นักโบราณคดี ก็ต้องยอมรับในประวัติศาสตร์ที่ว่ากันว่า พม่าได้บุกมาเผากรุงศรีอยุธยา
แต่ในขณะเดียวกันเราไม่ควรมีอคติมากเกินไปโดยเฉพาะกับประชาชนพม่าและผูกติดกับเรื่องนั้นมากเกินไป
และไม่ควรมองประวัติศาสตร์ด้านเดียว...
...เพราะในขณะเดียวกันกองทัพสยามก็ถูกเปรียบเทียบโดยประเทศเพื่อนบ้านว่าเป็น "จักรวรรดินิยมเล็ก ๆ" ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากหลาย ๆ กรณีผ่านการนำทหารไปบุกเผากรุงเวียงจันทร์ เผาวัดทั่วนครเวียงจันทร์ และเกณท์แรงงานและเชลยศึกลาวมาขุดคลองแสนแสบ การนำทหารไปเผานครเสียบเรียบของกัมพูชา เข้าตีเมืองปัตตานีดารุซารัม ซึ่ง "อาชญากรรม" เหล่านี้ก็มีความเป็นใกล้เคียงกับสถานการณ์ยุคใกล้มากกว่า เพราะเกิดขึ้นในสมัยการสร้างชาติ "ไทย" ในสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์
ในทศวรรษที่ 1970 ประเทศไทยและ "ทหารกล้าของพระนเรศวร" ก็มีส่วนสำคัญจนถึงการส่งทหารไปรบกับกองทัพของประชาชนชาวเวียดนามและ ใน "สงครามลับ" (secret war) กับกองทัพประเทศลาวในลาว และเป็นยอมใช้ฐานทัพไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ใช้เป็นฐานทัพในกับกองทัพสหรัฐฯ ในการเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการทิ้งระเบิดมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เวียดนามเหนือและใต้ (ซึ่งเวียดนามถูกทิ้งระเบิดรวมแล้วสี่เท่ามากกว่าระเบิดที่ถูกทิ้งทั่วโลกในสงครามโลกครั้งที่สอง) และเร็ว ๆ นี้ คือ ส่งทหารไปรับใช้รัฐบาลสหรัฐในสงครามในอิรัก
---
การศึกษาประวัติศาสตร์ควรมองจากหลายด้าน เพราะประวัติศาสตร์ในหลาย ๆ ครั้ง ได้รับการใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างกระแสชาตินิยมคับแคบ
ความศักดิ์สิทธิื์์์ืของพระนเรศวรก็ยังเป็นข้อถกเถียงกันจากประวัติศาสตร์หลาย ๆ ด้าน รวมถึงข้อบันทึกของนักศาสนาที่เข้ามาเผยแพร่ศา่สนาในช่วงนั้น หรือ ประวัติศาสตร์ของพม่าที่ให้ข้อสังเกตว่า พระมหาอุปราชาไม่ได้เสียชีวิตจากพระปฎักและ พระนเรศวรมหาราชใช้ปืนยิงพระมหาอุปราชจนสวรรณคตหรือถูกปืินจากทหารฝั่งกรุงศรีอยุธยายิง โดยแตกต่างจากข้อสังเกตของประวัติศาสตร์ชาตินิยมไทยที่เชิดชูว่าพระนเรศวรได้ัสังหารพระมหาอุปราชาอย่างกล้าหาญ (ดูปาจารยสาร ฉบับ มีนาคม-มิถุนายน 2544)
ผมเคยคิดครั้งหนึ่งว่าสักวันหนึ่งประวัติศาสตร์ไทยจะถูกสอนอย่างรอบด้าน ไม่ต้องท่องจำ มีประวัติศาสตร์ที่ได้รับการมองจากหลายๆ มุม เหมือนหนังสือชื่อ "ประวัติศาสตร์ของประชาชนชาวสหรัฐ" (The People"s History of the United States) ที่เขียนโดย Howard Zinn นักประวัติศาสตร์ของสหรัฐ ที่ได้เขียนหนังสือ ที่นำมุมมองการมองประัวัิติศาสตร์จากชนชั้นล่าง คนชายขอบในสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็นคนผิวดำ อินเดียนแดง นักสังคมนิยม จนถึงแรงงานชาวแม็กซิกันมามองประวัติศาสตร์ ต่างจากประัวัติศาสตร์รัฐที่มองจากบนลงล่าง
เมื่อได้ดูหนังเรื่องนี้แล้ว...ความฝันผมก็ยังอยู่ยาวไกลมาก
........................
อ้างอิง
1. "A People"s History of the United States" by Howard Zinn
เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดในปัจจุบัน และได้รับการโจมตีต่อเนื่องจากนักประวัติศาสตร์ นักการเมืองอนุรักษ์นิยม หนังสือที่พูดถึงประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1492 - 2002 รวมถึง การก่ออาชญากรรมของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส กับชาวพื้นเมืองอินเดียนแดง จนถึง การถูกริดรอนสิทธิของประชาชนผิวดำอย่างต่อเนื่อง หนังสือได้เข้ารอบสุดท้ายรางวัลหนังสือแห่งชาติปี 1980 (National Book Award)
2. ปาจารยสาร (ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 มีนาคม-มิถุนายน 2544)
ตีพิมพ์ครั้งแรกในประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์, 2 กันยายน 2007,
http://www.prachatai.com/journal/2007/02/11542
Sunday, August 23, 2009
Human Rights in Asean: a Struggle Going Nowhere?
The 42nd Asean Ministerial Meeting (AMM) that has just concluded in Phuket, Thailand, might bring up the question of whether Asean (the Association of Southeast Asian Nations) is able to transform itself into an organization capable of effectively addressing the human rights issues in the region. Asean’s image as a “governments’ club” continues to be questioned amidst claims by its top officials that it wants to be more “people-oriented.”
After long months of continued engagement with the High Level Panel on the establishment of the Asean human rights body (HLP) by an Asean-based civil society network of more than 60 human rights organizations across the region, many civil society actors and Asean observers are faced with the question of whether engagement on the thorny issue of human rights within Asean is actually bearing fruit or is simply destined to be a barren struggle.
When the HLP—a 12-member panel tasked by Asean’s foreign ministers to come up with the terms of reference (TOR) on the Asean human rights body—released its first statement in July 2008 in Singapore, it said it was “important to engage with Asean civil society in [its] work.” Asean civic groups were consequently hopeful that the regional body would finally accept the principle of participatory democracy and good governance after all these years of pressuring and lobbying.
From July 2008 to July 2009, the civic groups submitted documents from dozens of national and regional conferences demanding that Asean install the mandates for the human rights mechanism in order to facilitate fact-finding investigations, receive complaints from human rights victims and organizations, and conduct reviews on the human rights situation in the member countries. These demands were also put forward in the meetings with the HLP in the regional interface between the HLP and civil society groups in Manila in September 2008, and then in Kuala Lumpur in March 2009.
The final TOR of the Asean Inter-governmental Commission on Human Rights (AICOHR), adopted by the Asean foreign ministers on 20th July in Phuket, does not, however, honor such recommendations from the key stakeholder. While the Thai Prime Minister Abhisit Vejjajiva, who is currently Asean chairman, recently rebutted the criticisms on the AICOHR by saying that the body serves twin purposes of promoting and protecting human rights, it should be noted that the mandate in the final TOR that was made public by the Asean Secretariat was mainly on the promotional side. It advocated raising human rights awareness and providing services concerning human rights to Asean’s sectoral bodies. There was no such article mentioning any form of redress or action by AICOHR if a member state conducted human rights violations.
“We are disappointed to see that the final version of the TOR is less than the minimum credibility of protection mandate,” said Rafendi Djamin, the convener of the SAPA Task Force on Asean, at a press conference. “For any regional human rights commission to function effectively, it at least must have a minimum protection mandate such as conducting country visits to areas of human rights violations,” he added.
While Asean officials may praise themselves for taking such a progressive leap on this initiative, we must also take note that Asean falls far behind Europe, Africa and the Americas with regard to the creation of a similar mechanism. The other regions have not only set up commissions capable of conducting investigations into human rights violations for decades, they have also implemented human rights courts, namely the European Court of Human Rights (set up in 1959), the Inter-American Court of Human Rights (1979), and the African Court for Human and Peoples’ Rights (2004).
The discussion for creating an Asean Court for Human Rights in the future, something civil society groups long for, is a taboo subject among Asean’s policymakers.
To Watshlah Naidu, a women’s rights advocate with the International Women’s Rights Action Watch, Asean needs a reality check. “Asean is a region that is packed with series of human rights violations ranging from extrajudicial executions and women’s rights being violated through labor exploitation, trafficking and sexual exploitation,” said Naidu.
Most importantly, Asean continues to be unable to resolve the worsening human rights crisis in Burma, an Asean member since 1997 that has created a refugee crisis in Southeast Asia. With the existing weak TOR, how can Asean seek to improve the plight of the ethnic nationalities that are continually oppressed by the Burmese military regime and the continuing detention of more than 2,000 political prisoners including the never-ending detention of Aung San Suu Kyi. Asean must act to ensure that human rights can be effectively protected. Asean governments must not be naïve in thinking that once the AICOHR is initiated, international criticism of the region’s human rights standards will be targeted toward the commission. Asean governments must be prepared to be tested nationally and internationally on whether they can adapt and be responsive to challenges beyond traditional security issues. Most importantly, Asean and AICOHR should be ready to answer to their peoples and the international community.
This article is first published in The Irrawaddy, 22 July 2009, http://www.irrawaddymedia.com/print_article.php?art_id=16380
After long months of continued engagement with the High Level Panel on the establishment of the Asean human rights body (HLP) by an Asean-based civil society network of more than 60 human rights organizations across the region, many civil society actors and Asean observers are faced with the question of whether engagement on the thorny issue of human rights within Asean is actually bearing fruit or is simply destined to be a barren struggle.
When the HLP—a 12-member panel tasked by Asean’s foreign ministers to come up with the terms of reference (TOR) on the Asean human rights body—released its first statement in July 2008 in Singapore, it said it was “important to engage with Asean civil society in [its] work.” Asean civic groups were consequently hopeful that the regional body would finally accept the principle of participatory democracy and good governance after all these years of pressuring and lobbying.
From July 2008 to July 2009, the civic groups submitted documents from dozens of national and regional conferences demanding that Asean install the mandates for the human rights mechanism in order to facilitate fact-finding investigations, receive complaints from human rights victims and organizations, and conduct reviews on the human rights situation in the member countries. These demands were also put forward in the meetings with the HLP in the regional interface between the HLP and civil society groups in Manila in September 2008, and then in Kuala Lumpur in March 2009.
The final TOR of the Asean Inter-governmental Commission on Human Rights (AICOHR), adopted by the Asean foreign ministers on 20th July in Phuket, does not, however, honor such recommendations from the key stakeholder. While the Thai Prime Minister Abhisit Vejjajiva, who is currently Asean chairman, recently rebutted the criticisms on the AICOHR by saying that the body serves twin purposes of promoting and protecting human rights, it should be noted that the mandate in the final TOR that was made public by the Asean Secretariat was mainly on the promotional side. It advocated raising human rights awareness and providing services concerning human rights to Asean’s sectoral bodies. There was no such article mentioning any form of redress or action by AICOHR if a member state conducted human rights violations.
“We are disappointed to see that the final version of the TOR is less than the minimum credibility of protection mandate,” said Rafendi Djamin, the convener of the SAPA Task Force on Asean, at a press conference. “For any regional human rights commission to function effectively, it at least must have a minimum protection mandate such as conducting country visits to areas of human rights violations,” he added.
While Asean officials may praise themselves for taking such a progressive leap on this initiative, we must also take note that Asean falls far behind Europe, Africa and the Americas with regard to the creation of a similar mechanism. The other regions have not only set up commissions capable of conducting investigations into human rights violations for decades, they have also implemented human rights courts, namely the European Court of Human Rights (set up in 1959), the Inter-American Court of Human Rights (1979), and the African Court for Human and Peoples’ Rights (2004).
The discussion for creating an Asean Court for Human Rights in the future, something civil society groups long for, is a taboo subject among Asean’s policymakers.
To Watshlah Naidu, a women’s rights advocate with the International Women’s Rights Action Watch, Asean needs a reality check. “Asean is a region that is packed with series of human rights violations ranging from extrajudicial executions and women’s rights being violated through labor exploitation, trafficking and sexual exploitation,” said Naidu.
Most importantly, Asean continues to be unable to resolve the worsening human rights crisis in Burma, an Asean member since 1997 that has created a refugee crisis in Southeast Asia. With the existing weak TOR, how can Asean seek to improve the plight of the ethnic nationalities that are continually oppressed by the Burmese military regime and the continuing detention of more than 2,000 political prisoners including the never-ending detention of Aung San Suu Kyi. Asean must act to ensure that human rights can be effectively protected. Asean governments must not be naïve in thinking that once the AICOHR is initiated, international criticism of the region’s human rights standards will be targeted toward the commission. Asean governments must be prepared to be tested nationally and internationally on whether they can adapt and be responsive to challenges beyond traditional security issues. Most importantly, Asean and AICOHR should be ready to answer to their peoples and the international community.
This article is first published in The Irrawaddy, 22 July 2009, http://www.irrawaddymedia.com/print_article.php?art_id=16380
ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียน: ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของอาเซียน?
การประชุมคณะรัฐมนตรีอาเซียนครั้งที่ 42 (ASEAN Ministerial Meeting) ที่เพิ่งยุติไปที่จังหวัดภูเก็ตได้สร้างคำถามให้กับนักวิชาการ องค์กรสิทธิมนุษยชน และนักวิเคราะห์ว่าสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนจะสามารถเป็นองค์กรระดับภูมิภาคที่มีศักยภาพในการแก้ปัญหาสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไหม หรือจะเป็นได้เพียงแต่ “ชมรมของเจ้าหน้าที่รัฐ” ตามที่ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมาตลอด หาใช่องค์กรที่มี “ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” (people-oriented ASEAN) ตามที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอาเซียนต้องการให้ประชาชนเห็นเป็นอย่างนั้น
ในระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมาที่ได้ภาคประชาสังคมได้มีการรณรงค์กับคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน (High Level Panel on ASEAN Human Rights Body) เพื่อผลักดันให้องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนมีอำนาจหน้าที่ตามหลักสากลเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมภาคได้ ภาคประชาสังคมได้ตั้งคำถามว่าการรณรงค์เพื่อให้อาเซียนก่อตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN human rights body) ที่มีอำนาจในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคจะเป็นเรื่องที่คุ้มค่ากับการทุ่มเทหรือเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์
หลังจากคณะรัฐมนตรีอาเซียนได้แต่งตั้งคณะทำงานระดับสูงฯ เพื่อวางร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ (Terms of Reference) ขององค์กรสิทธิมนุษยชนในการประชุมคณะรัฐมนตรีอาเซียนครั้งที่ 41 ที่ประเทศสิงคโปร์ในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว คณะทำงานระดับสูงฯ ได้สร้างความหวังให้กับภาคประชาสังคมอาเซียนว่าอาเซียนในที่สุดจะยอมรับหลักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและหลักธรรมมาภิบาลโดยการออกแถลงการณ์ว่าคณะทำงานฯ “เห็นความสำคัญในการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมอาเซียนในการ [วางร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน]
ในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วเป็นต้นมา กลุ่มองค์กรภาคประชาชนอาเซียนที่ได้ติดตามกระบวนการนี้ได้รวบรวมข้อเสนอหลักสามข้อซึ่งเป็นผลสรุปจากการระดมสมองในระดับประเทศและระดับภูมิภาคหลายสิบครั้งว่า: หนึ่ง องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนอย่างน้อยต้องสามารถมีอำนาจในการจัดการทีมผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน สอง ต้องสามารถรับเรื่องร้องเรียนจากเหยื่อจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือองค์กรสิทธิมนุษยชน และสาม ต้องทำการตรวจสอบสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศสมาชิกได้อย่างเป็นประจำ ข้อเรียกร้องเหล่านี้ได้นำเสนอต่อคณะทำงานระดับสูงฯ ในการประชุมร่วมระหว่างคณะทำงานระดับสูงฯ กับภาคประชาสังคมในกรุงมานิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในเดือนกันยายนปีที่แล้วและในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในเดือนมีนาคมปีนี้
แต่อย่างไรก็ดี กรอบขอบเขตการทำงานของ “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนระหว่างรัฐบาลอาเซียน” (ASEAN Inter-governmental Commission on Human Rights ซึ่งเป็นชื่อที่รัฐมนตรีอาเซียนตั้งแทนองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน) ที่การประชุมคณะรัฐมนตรีอาเซียนเห็นชอบในวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา หาได้มีข้อเสนอแนะในส่วนนี้จากภาคประชาสังคมอาเซียนไม่
หลังจากที่นักวิชาการและภาคประชาชนได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนฯ เป็นเพียงองค์กรที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากเป็นเสมือนเสือที่ไม่มีฟันในการกัดผู้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน (Tiger without teeth) นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและประธานอาเซียนได้ออกมาปกป้องว่าองค์กรนี้มีเป้าหมายสองอย่างในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน แต่หากเราได้ศึกษากรอบขอบเขตการทำงานที่ได้เปิดเผยโดยสำนักเลขาธิการอาเซียน เราจะเห็นภาพที่ตรงกันข้าม เนื่องจากองค์กรนี้สามารถทำได้เพียงส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เช่น ส่งเสริมความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนและให้ความช่วยเหลือกับองค์กรในอาเซียนเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนเป็นต้น แต่ไม่ได้มีการพูดถึงอำนาจในการเข้าไปตรวจสอบในประเทศนั้น ๆ เวลามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐสมาชิก
“เรารู้สึกผิดหวังมากที่เห็นว่ากรอบขอบเขตอำนาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนฯ ต่ำกว่าความคาดหวังมาก” ราเฟนดี เดจามิน (Rafendi Djamin) นักสิทธิมนุษยชนจากประเทศอินโดนีเซียและผู้ประสานงานคณะทำงานองค์กรภาคประชาชนเพื่อติดตามสิทธิมนุษยชนในอาเซียน (Task Force on ASEAN and Human Rights) กล่าวในการแถลงข่าววิจารณ์ขอบเขตอำนาจคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนฯ ราเฟนดียังกล่าวเพิ่มว่า “ถ้าอาเซียนมีความต้องการให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนฯ จะทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการนี้ต้องมีอำนาจในการคุ้มครองประชาชนอาเซียนจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยการเข้าตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน”
ภาคประชาสังคมอาเซียนยังได้ตั้งความกังวลว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนฯ (ซึ่งจะก่อตั้งเสร็จภายในเดือนตุลาคมปีนี้ ตรงกับการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ที่ประเทศไทย) จะเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมในสังคมมากแค่ไหน เนื่องจากกรอบขอบเขตการทำงานของคณะกรรมการให้ความยอมรับกับองค์กรวิชาชีพที่อาเซียนอ้างว่าเป็นองค์กรภาคประชาสังคมอยู่เพียงห้าสิบองค์กรเท่านั้น โดยที่องค์กรเหล่านี้ที่ไม่ได้ทำงานทางด้านสังคมหรือทางด้านสิทธิมนุษยชน เช่น องค์กรหมากรุกอาเซียน (ASEAN Chess Association) องค์กรเครื่องสำอางอาเซียน (ASEAN Cosmetic Association) สมาคมน้ำมันพืชอาเซียน (ASEAN Vegetable Oils Club) เป็นต้น
รัฐบาลอาเซียนมองการเกิดขึ้นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ นี้เป็นความสำเร็จทางด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียนแต่กลับไม่ได้มองในภาพกว้างว่าการพัฒนาทางด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียนได้อยู่ห่างไกลภูมิภาคอื่นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคยุโรป แอฟฟริกา และทวีปอเมริกา สามภูมิภาคนี้ไม่เพียงได้ก่อตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคที่มีอำนาจในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศสมาชิกเป็นระยะเวลาหลายทศวรรษแล้ว ทวีปเหล่านี้ได้มีการก่อตั้งศาลสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค (ยุโรปได้มีการก่อตั้งในปี 1959 ทวีปอเมริกาในปี 1979 และแอฟฟริกาในปี 2004) เพื่อออกมาตรการที่มีผลบังคับทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน แต่สำหรับอาเซียนนั้นการพูดคุยเรื่องความเป็นไปได้ในการก่อตั้งศาลสิทธิมนุษยชนอาเซียนนับว่ายังเป็นเรื่องต้องห้าม (taboo) สำหรับรัฐบาลอาเซียนส่วนมาก
วัชชาลา นัยดู (Wathslah Naidu) นักกิจกรรมทางด้านสิทธิผู้หญิงชาวมาเลเซียและเจ้าหน้าที่เครือข่ายปฏิบัติงานสากลเพื่อสิทธิสตรี (International Women’s Rights Action Watch) กล่าวว่า “อาเซียนจำเป็นต้องมองว่าสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเลวร้ายแค่ไหนเพื่อสะท้อนว่าถ้าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนฯ มีเพียงอำนาจการในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สถานการณ์ในภูมิภาคจะพัฒนาไปได้อย่างไร”
“อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่การใช้ฆาตกรรมโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ (extrajudicial executions) และผู้หญิงได้รับการละเมิดสิทธิตั้งแต่การค้าผู้หญิงจนไปถึงการกดขี่แรงงาน” วัชชาลากล่าว
ที่สำคัญที่สุด อาเซียนยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเลวร้ายลงในประเทศพม่า (ซึ่งเป็นสมาชิกของอาเซียนตั้งแต่ปี 1997 ได้) การที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนจะมีขอบเขตการทำงานที่อ่อนแอจะสามารถตอบคำถามกับสถานการณ์ผู้ลี้ภัยจากพม่า การกดขี่และละเมิดสิทธิมนุษยชนกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า และการคุมขังนักโทษทางการเมืองมากกว่าสองพันคนรวมถึงออง ซาน ซู จี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยอย่างไม่มีกำหนดได้อย่างไร
ท้ายที่สุดนี้ รัฐบาลอาเซียนไม่ควรคิดอย่างไร้เดียงสาว่าการก่อตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนที่มีแต่ชื่อแต่ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจะเป็นการพัฒนาที่เพียงพอในการลดแรงกดดันจากองค์กรสิทธิมนุษยชน อาเซียนต้องพร้อมที่จะตอบคำถามไม่เพียงแต่จากประชาคมอาเซียนแต่จากประชาคมโลกว่าอาเซียนมีท่าทีในการแก้ไขอย่างไรหากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนจะทำได้เพียงแต่หน้าที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน แต่ไม่สามารถพัฒนาสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคได้อย่างเป็นรูปธรรม หากอาเซียนไม่สามารถทำได้ อาเซียนอาจจะถูกมองว่าเป็นองค์กรที่สามารถดูแลเรื่องความมั่นคงของรัฐเพียงเท่านั้น แต่เป็นองค์กรล้าหลังที่ไม่สามารถปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาภูมิภาคที่มีผลกระทบกับความมั่นคงของประชาชนของตัวเองได้
ตีพิมพ์ครั้งแรกในประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์, วันที่ 22 กรกฎาคม 2552, http://www.prachatai.com/journal/2009/07/25157
ในระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมาที่ได้ภาคประชาสังคมได้มีการรณรงค์กับคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน (High Level Panel on ASEAN Human Rights Body) เพื่อผลักดันให้องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนมีอำนาจหน้าที่ตามหลักสากลเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมภาคได้ ภาคประชาสังคมได้ตั้งคำถามว่าการรณรงค์เพื่อให้อาเซียนก่อตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN human rights body) ที่มีอำนาจในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคจะเป็นเรื่องที่คุ้มค่ากับการทุ่มเทหรือเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์
หลังจากคณะรัฐมนตรีอาเซียนได้แต่งตั้งคณะทำงานระดับสูงฯ เพื่อวางร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ (Terms of Reference) ขององค์กรสิทธิมนุษยชนในการประชุมคณะรัฐมนตรีอาเซียนครั้งที่ 41 ที่ประเทศสิงคโปร์ในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว คณะทำงานระดับสูงฯ ได้สร้างความหวังให้กับภาคประชาสังคมอาเซียนว่าอาเซียนในที่สุดจะยอมรับหลักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและหลักธรรมมาภิบาลโดยการออกแถลงการณ์ว่าคณะทำงานฯ “เห็นความสำคัญในการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมอาเซียนในการ [วางร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน]
ในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วเป็นต้นมา กลุ่มองค์กรภาคประชาชนอาเซียนที่ได้ติดตามกระบวนการนี้ได้รวบรวมข้อเสนอหลักสามข้อซึ่งเป็นผลสรุปจากการระดมสมองในระดับประเทศและระดับภูมิภาคหลายสิบครั้งว่า: หนึ่ง องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนอย่างน้อยต้องสามารถมีอำนาจในการจัดการทีมผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน สอง ต้องสามารถรับเรื่องร้องเรียนจากเหยื่อจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือองค์กรสิทธิมนุษยชน และสาม ต้องทำการตรวจสอบสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศสมาชิกได้อย่างเป็นประจำ ข้อเรียกร้องเหล่านี้ได้นำเสนอต่อคณะทำงานระดับสูงฯ ในการประชุมร่วมระหว่างคณะทำงานระดับสูงฯ กับภาคประชาสังคมในกรุงมานิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในเดือนกันยายนปีที่แล้วและในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในเดือนมีนาคมปีนี้
แต่อย่างไรก็ดี กรอบขอบเขตการทำงานของ “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนระหว่างรัฐบาลอาเซียน” (ASEAN Inter-governmental Commission on Human Rights ซึ่งเป็นชื่อที่รัฐมนตรีอาเซียนตั้งแทนองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน) ที่การประชุมคณะรัฐมนตรีอาเซียนเห็นชอบในวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา หาได้มีข้อเสนอแนะในส่วนนี้จากภาคประชาสังคมอาเซียนไม่
หลังจากที่นักวิชาการและภาคประชาชนได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนฯ เป็นเพียงองค์กรที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากเป็นเสมือนเสือที่ไม่มีฟันในการกัดผู้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน (Tiger without teeth) นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและประธานอาเซียนได้ออกมาปกป้องว่าองค์กรนี้มีเป้าหมายสองอย่างในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน แต่หากเราได้ศึกษากรอบขอบเขตการทำงานที่ได้เปิดเผยโดยสำนักเลขาธิการอาเซียน เราจะเห็นภาพที่ตรงกันข้าม เนื่องจากองค์กรนี้สามารถทำได้เพียงส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เช่น ส่งเสริมความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนและให้ความช่วยเหลือกับองค์กรในอาเซียนเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนเป็นต้น แต่ไม่ได้มีการพูดถึงอำนาจในการเข้าไปตรวจสอบในประเทศนั้น ๆ เวลามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐสมาชิก
“เรารู้สึกผิดหวังมากที่เห็นว่ากรอบขอบเขตอำนาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนฯ ต่ำกว่าความคาดหวังมาก” ราเฟนดี เดจามิน (Rafendi Djamin) นักสิทธิมนุษยชนจากประเทศอินโดนีเซียและผู้ประสานงานคณะทำงานองค์กรภาคประชาชนเพื่อติดตามสิทธิมนุษยชนในอาเซียน (Task Force on ASEAN and Human Rights) กล่าวในการแถลงข่าววิจารณ์ขอบเขตอำนาจคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนฯ ราเฟนดียังกล่าวเพิ่มว่า “ถ้าอาเซียนมีความต้องการให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนฯ จะทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการนี้ต้องมีอำนาจในการคุ้มครองประชาชนอาเซียนจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยการเข้าตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน”
ภาคประชาสังคมอาเซียนยังได้ตั้งความกังวลว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนฯ (ซึ่งจะก่อตั้งเสร็จภายในเดือนตุลาคมปีนี้ ตรงกับการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ที่ประเทศไทย) จะเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมในสังคมมากแค่ไหน เนื่องจากกรอบขอบเขตการทำงานของคณะกรรมการให้ความยอมรับกับองค์กรวิชาชีพที่อาเซียนอ้างว่าเป็นองค์กรภาคประชาสังคมอยู่เพียงห้าสิบองค์กรเท่านั้น โดยที่องค์กรเหล่านี้ที่ไม่ได้ทำงานทางด้านสังคมหรือทางด้านสิทธิมนุษยชน เช่น องค์กรหมากรุกอาเซียน (ASEAN Chess Association) องค์กรเครื่องสำอางอาเซียน (ASEAN Cosmetic Association) สมาคมน้ำมันพืชอาเซียน (ASEAN Vegetable Oils Club) เป็นต้น
รัฐบาลอาเซียนมองการเกิดขึ้นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ นี้เป็นความสำเร็จทางด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียนแต่กลับไม่ได้มองในภาพกว้างว่าการพัฒนาทางด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียนได้อยู่ห่างไกลภูมิภาคอื่นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคยุโรป แอฟฟริกา และทวีปอเมริกา สามภูมิภาคนี้ไม่เพียงได้ก่อตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคที่มีอำนาจในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศสมาชิกเป็นระยะเวลาหลายทศวรรษแล้ว ทวีปเหล่านี้ได้มีการก่อตั้งศาลสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค (ยุโรปได้มีการก่อตั้งในปี 1959 ทวีปอเมริกาในปี 1979 และแอฟฟริกาในปี 2004) เพื่อออกมาตรการที่มีผลบังคับทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน แต่สำหรับอาเซียนนั้นการพูดคุยเรื่องความเป็นไปได้ในการก่อตั้งศาลสิทธิมนุษยชนอาเซียนนับว่ายังเป็นเรื่องต้องห้าม (taboo) สำหรับรัฐบาลอาเซียนส่วนมาก
วัชชาลา นัยดู (Wathslah Naidu) นักกิจกรรมทางด้านสิทธิผู้หญิงชาวมาเลเซียและเจ้าหน้าที่เครือข่ายปฏิบัติงานสากลเพื่อสิทธิสตรี (International Women’s Rights Action Watch) กล่าวว่า “อาเซียนจำเป็นต้องมองว่าสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเลวร้ายแค่ไหนเพื่อสะท้อนว่าถ้าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนฯ มีเพียงอำนาจการในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สถานการณ์ในภูมิภาคจะพัฒนาไปได้อย่างไร”
“อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่การใช้ฆาตกรรมโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ (extrajudicial executions) และผู้หญิงได้รับการละเมิดสิทธิตั้งแต่การค้าผู้หญิงจนไปถึงการกดขี่แรงงาน” วัชชาลากล่าว
ที่สำคัญที่สุด อาเซียนยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเลวร้ายลงในประเทศพม่า (ซึ่งเป็นสมาชิกของอาเซียนตั้งแต่ปี 1997 ได้) การที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนจะมีขอบเขตการทำงานที่อ่อนแอจะสามารถตอบคำถามกับสถานการณ์ผู้ลี้ภัยจากพม่า การกดขี่และละเมิดสิทธิมนุษยชนกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า และการคุมขังนักโทษทางการเมืองมากกว่าสองพันคนรวมถึงออง ซาน ซู จี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยอย่างไม่มีกำหนดได้อย่างไร
ท้ายที่สุดนี้ รัฐบาลอาเซียนไม่ควรคิดอย่างไร้เดียงสาว่าการก่อตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนที่มีแต่ชื่อแต่ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจะเป็นการพัฒนาที่เพียงพอในการลดแรงกดดันจากองค์กรสิทธิมนุษยชน อาเซียนต้องพร้อมที่จะตอบคำถามไม่เพียงแต่จากประชาคมอาเซียนแต่จากประชาคมโลกว่าอาเซียนมีท่าทีในการแก้ไขอย่างไรหากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนจะทำได้เพียงแต่หน้าที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน แต่ไม่สามารถพัฒนาสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคได้อย่างเป็นรูปธรรม หากอาเซียนไม่สามารถทำได้ อาเซียนอาจจะถูกมองว่าเป็นองค์กรที่สามารถดูแลเรื่องความมั่นคงของรัฐเพียงเท่านั้น แต่เป็นองค์กรล้าหลังที่ไม่สามารถปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาภูมิภาคที่มีผลกระทบกับความมั่นคงของประชาชนของตัวเองได้
ตีพิมพ์ครั้งแรกในประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์, วันที่ 22 กรกฎาคม 2552, http://www.prachatai.com/journal/2009/07/25157
อนาคตของขบวนการเสื้อแดง : บทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะ
เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการเดินเกมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือที่รู้จักกันในนามของ "คนเสื้อแดง" ในช่วงสงกรานต์ได้สร้างความเสียหายทางชื่อเสียง และภาพลักษณ์ของคนเสื้อแดงอย่างใหญ่หลวง
สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องน่าเศร้า เนื่องจากการเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เรียกได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหวอย่างสันติในระดับหนึ่ง แต่หลังจากสงกรานต์ ภาพลักษณ์ที่ปรากฏทำให้สังคมมีความเข้าใจว่า คนเสื้อแดงเป็นขบวนการที่ใช้ความรุนแรงตามที่ได้กระพือมาตลอด โดยกลุ่มการเมืองสายพันธมิตร พร้อมกับการสนับสนุนจากสื่อกระแสหลักที่มีความเบี่ยงเบนทางการเมืองอยู่แล้ว
ในฐานะผู้สังเกตการณ์ทางการเมือง ผู้เขียนจึงอยากเสนอแนะไปถึงกลุ่มคนเสื้อแดง (ซึ่งรวมถึง ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่มีบทบาทเป็นแกนนำคนเสื้อแดงด้วย) ดังนี้
ประเด็นที่หนึ่ง ถ้าหากคนเสื้อแดงต้องการให้การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่ใช้ความรุนแรง (Non-violence) ตามที่ได้พูดมา และต้องการทำให้การเคลื่อนไหวมีความแตกต่างจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปีที่แล้วที่ใช้ความรุนแรง อาทิเช่น การทำร้ายตำรวจ การบุกยึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที (ชื่อในขณะนั้น) รวมทั้งการยึดสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ คนเสื้อแดงต้องประกาศและต้องทำให้การชุมนุมเป็นการชุมนุมที่สันติ ปราศจากอาวุธ ดำเนินการตามหลักรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศอย่างแท้จริง เพราะการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรง จะทำให้คนเสื้อแดงถูกประณามจากชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ และสื่อสารมวลชนกระแสหลักมากกว่าเดิม
ประเด็นที่สอง คนเสื้อแดงต้องไม่ปกป้องบุคคลที่มีบทบาทในการใช้ความรุนแรงจริงๆ อาทิเช่น บุคคลที่ทุบรถ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในกระทรวงมหาดไทย บุคคลที่นำรถก๊าซเอ็นจีวีมาจอดที่หน้าแฟลตดินแดง หรือบุคคลที่เผารถบัส โดยต้องมีการสนับสนุนให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย คนเสื้อแดงไม่ควรปล่อยให้ขบวนการของตนเองมีส่วนร่วมกับการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วยการปกป้องคนเหล่านี้ เนื่องจากจะทำให้การเรียกร้องให้มีการดำเนินคดีกับพันธมิตรที่ใช้ความรุนแรงเช่นกันหมดความชอบธรรมไปทันที
ประเด็นที่สาม เราต้องไม่ปฏิเสธว่าบทบาทของสื่อสารมวลชนกระแสหลัก โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ (เนื่องจากเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้จำนวนมากที่สุด) มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญตลอดมา ดูได้จากบทบาทของสื่อสารมวลชนในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของประชาชนในการเรียกร้องประชาธิปไตยช่วงพฤษภาทมิฬ ซึ่งส่งผลให้การเคลื่อนไหวประสบความสำเร็จ แตกต่างจากการฆาตกรรมหมู่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษาประชาชนไม่ได้รับการสนับสนุนจากสื่อมวลชน กระทั่งนำไปสู่การที่สังคมให้ความชอบธรรมกับการใช้ความรุนแรงในการปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมอย่างสันติในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดังนั้น คนเสื้อแดงต้องมียุทธศาสตร์ในการทำงานร่วมมือกับสื่อสารมวลชนกระแสหลักมากขึ้นเพื่อเปลี่ยนความคิด โดยต้องเป็นยุทธศาสตร์ระยะยาว อาทิเช่น อาจจะมีบางปีกของ นปช.ที่ทำงานทางความคิดกับสื่อกระแสหลักโดยตรง เป็นต้น
ประเด็นที่สี่ คนเสื้อแดงต้องต่อสู้ด้วยความจริง ไม่ใช้การโกหก หรือการสร้างเรื่องขึ้นมา ผู้เขียนเห็นว่าการพูดถึงคนตายจากการเข้าสลายการชุมนุมโดยทหารต้องมีการตรวจสอบอย่างแท้จริงก่อนที่จะออกมาพูด เนื่องจากการพูดว่ามีคนตาย 6 คนบ้าง 10 คน หรือ 60 คนบ้าง จะเป็นผลเสียกับคนเสื้อแดงในประเด็นเรื่องความน่าเชื่อถือ (Credibility) เนื่องจากไม่ได้มีข้อมูลอย่างชัดเจนในการตอบคำถามกับสังคมว่าได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่และมีหลักฐานอยู่ที่ไหน
โดยส่วนตัว ผู้เขียนตั้งคำถามกับการเสียชีวิตมาก เพราะคิดว่าถ้ามีการเสียชีวิตจริง นักข่าวต่างประเทศและนักข่าวพลเมืองต้องมีภาพมาเสนอกับสังคมแน่นอน ดังนั้น คนเสื้อแดงต้องต่อสู้โดยใช้ข้อมูลจริง เหตุการณ์จริงที่มีหลักฐานสนับสนุนอย่างชัดเจน
การเคลื่อนไหวเรื่องการไม่ชอบธรรมของการสลายการชุมนุม อาจจะเป็นประเด็นที่เริ่มรณรงค์ได้โดยดูจากการที่ทหารเข้าทำร้ายหรือซ้อมผู้ชุมนุม และใช้ความรุนแรงเกินกว่าความจำเป็น (Excessive use of force) ตามที่ได้มีการแสดงภาพวีดิทัศน์ในการประชุมรัฐสภาโดย ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย และกรณีที่รัฐบาลตัดสินใจใช้ทหารสลายการชุมนุม โดยไม่ได้ใช้ตำรวจ ทั้งๆ ที่ตำรวจฝึกมาดีกว่า
ประเด็นที่ห้า คนเสื้อแดงต้องคิดถึงการลดบทบาทของ ทักษิณ ชินวัตร และ ส.ส.พรรคเพื่อไทยจากการเป็นแกนนำหลักการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง โดยควรจะดึงเอานักกิจกรรม นักสหภาพแรงงาน นักวิชาการ และบุคคลอื่นๆ ที่มีความหลากหลายทางสาขาอาชีพมามีบทบาทนำมากขึ้น การเอาทักษิณ มาอยู่ใกล้ชิดกับคนเสื้อแดงมากเกินไป อาจทำให้ชนชั้นกลาง นักวิชาการ นักกิจกรรมจำนวนมาก ที่ไม่พอใจกับการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลประชาธิปัตย์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากรัฐประหารกับกระบวนการทางการเมืองต่างๆ ยอมรับไม่ได้ที่จะต้องต่อสู้เพื่อทักษิณ
แม้ว่าในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ จะมีนโยบายที่สนับสนุนสวัสดิการของคนจนจำนวนมาก แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงนั้นเป็นช่วงที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคใกล้ ดังที่ดูได้จากการคุกคามสื่อและองค์กรอิสระ กรณีการนำนโยบายสงครามยาเสพติดมาใช้ นำไปสู่การทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 ศพ โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม การสลายการชุมนุมที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 78 ศพ รวมถึงการฆาตกรรมนักสิทธิมนุษยชนมากกว่า 20 คนในช่วงรัฐบาลทักษิณ และการปฏิเสธที่จะดำเนินการนำคนผิดมาลงโทษ
ท้ายที่สุด การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง ต้องไม่ให้ความสำคัญแค่ผลกระทบจากการรัฐประหารกับพรรคไทยรักไทยเก่า หรือการต่อต้านรัฐบาลชุดนี้แบบหัวชนฝาเพียงอย่างเดียว ถ้าคนเสื้อแดงต้องการให้การเคลื่อนไหวประสบความสำเร็จ คนเสื้อแดงต้องมีข้อเสนอแนะอย่างชัดเจนกับสังคมว่าจะนำพาสังคมไปทางไหนในระยะยาว
ขบวนการคนเสื้อแดงต้องสามารถอธิบายให้สังคมเห็นว่า การรัฐประหาร การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2550 และการเพิ่มบทบาทของตุลาการ มีผลกระทบอะไรกับพื้นที่ประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในปัจจุบัน การเรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญต้องมีการเรียกร้องที่กว้างขวาง โดยให้มีการเพิ่มบทบาทกับประชาชนมากขึ้นในกระบวนการต่างๆ โดยทำความเข้าใจกับประชาชนว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ทำให้การเลือกตั้งวุฒิสภาครึ่งหนึ่งหมดไป และลดบทบาทภาคประชาชนในการสรรหาองค์กรอิสระ อาทิเช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
นอกจากนี้ คนเสื้อแดงต้องทำงานในประเด็นอื่นๆ ที่ภาคประชาชนให้ความสนใจด้วย เพื่อสร้างแนวร่วม ยกตัวอย่างเช่น เรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายที่ลดพื้นที่การแสดงสิทธิเสรีภาพ อาทิเช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หน้าทัศนะวิจารณ์, วันที่ 28 เมษายน 2552
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/reader-opinion/20090428/
สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องน่าเศร้า เนื่องจากการเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เรียกได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหวอย่างสันติในระดับหนึ่ง แต่หลังจากสงกรานต์ ภาพลักษณ์ที่ปรากฏทำให้สังคมมีความเข้าใจว่า คนเสื้อแดงเป็นขบวนการที่ใช้ความรุนแรงตามที่ได้กระพือมาตลอด โดยกลุ่มการเมืองสายพันธมิตร พร้อมกับการสนับสนุนจากสื่อกระแสหลักที่มีความเบี่ยงเบนทางการเมืองอยู่แล้ว
ในฐานะผู้สังเกตการณ์ทางการเมือง ผู้เขียนจึงอยากเสนอแนะไปถึงกลุ่มคนเสื้อแดง (ซึ่งรวมถึง ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่มีบทบาทเป็นแกนนำคนเสื้อแดงด้วย) ดังนี้
ประเด็นที่หนึ่ง ถ้าหากคนเสื้อแดงต้องการให้การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่ใช้ความรุนแรง (Non-violence) ตามที่ได้พูดมา และต้องการทำให้การเคลื่อนไหวมีความแตกต่างจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปีที่แล้วที่ใช้ความรุนแรง อาทิเช่น การทำร้ายตำรวจ การบุกยึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที (ชื่อในขณะนั้น) รวมทั้งการยึดสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ คนเสื้อแดงต้องประกาศและต้องทำให้การชุมนุมเป็นการชุมนุมที่สันติ ปราศจากอาวุธ ดำเนินการตามหลักรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศอย่างแท้จริง เพราะการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรง จะทำให้คนเสื้อแดงถูกประณามจากชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ และสื่อสารมวลชนกระแสหลักมากกว่าเดิม
ประเด็นที่สอง คนเสื้อแดงต้องไม่ปกป้องบุคคลที่มีบทบาทในการใช้ความรุนแรงจริงๆ อาทิเช่น บุคคลที่ทุบรถ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในกระทรวงมหาดไทย บุคคลที่นำรถก๊าซเอ็นจีวีมาจอดที่หน้าแฟลตดินแดง หรือบุคคลที่เผารถบัส โดยต้องมีการสนับสนุนให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย คนเสื้อแดงไม่ควรปล่อยให้ขบวนการของตนเองมีส่วนร่วมกับการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วยการปกป้องคนเหล่านี้ เนื่องจากจะทำให้การเรียกร้องให้มีการดำเนินคดีกับพันธมิตรที่ใช้ความรุนแรงเช่นกันหมดความชอบธรรมไปทันที
ประเด็นที่สาม เราต้องไม่ปฏิเสธว่าบทบาทของสื่อสารมวลชนกระแสหลัก โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ (เนื่องจากเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้จำนวนมากที่สุด) มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญตลอดมา ดูได้จากบทบาทของสื่อสารมวลชนในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของประชาชนในการเรียกร้องประชาธิปไตยช่วงพฤษภาทมิฬ ซึ่งส่งผลให้การเคลื่อนไหวประสบความสำเร็จ แตกต่างจากการฆาตกรรมหมู่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษาประชาชนไม่ได้รับการสนับสนุนจากสื่อมวลชน กระทั่งนำไปสู่การที่สังคมให้ความชอบธรรมกับการใช้ความรุนแรงในการปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมอย่างสันติในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดังนั้น คนเสื้อแดงต้องมียุทธศาสตร์ในการทำงานร่วมมือกับสื่อสารมวลชนกระแสหลักมากขึ้นเพื่อเปลี่ยนความคิด โดยต้องเป็นยุทธศาสตร์ระยะยาว อาทิเช่น อาจจะมีบางปีกของ นปช.ที่ทำงานทางความคิดกับสื่อกระแสหลักโดยตรง เป็นต้น
ประเด็นที่สี่ คนเสื้อแดงต้องต่อสู้ด้วยความจริง ไม่ใช้การโกหก หรือการสร้างเรื่องขึ้นมา ผู้เขียนเห็นว่าการพูดถึงคนตายจากการเข้าสลายการชุมนุมโดยทหารต้องมีการตรวจสอบอย่างแท้จริงก่อนที่จะออกมาพูด เนื่องจากการพูดว่ามีคนตาย 6 คนบ้าง 10 คน หรือ 60 คนบ้าง จะเป็นผลเสียกับคนเสื้อแดงในประเด็นเรื่องความน่าเชื่อถือ (Credibility) เนื่องจากไม่ได้มีข้อมูลอย่างชัดเจนในการตอบคำถามกับสังคมว่าได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่และมีหลักฐานอยู่ที่ไหน
โดยส่วนตัว ผู้เขียนตั้งคำถามกับการเสียชีวิตมาก เพราะคิดว่าถ้ามีการเสียชีวิตจริง นักข่าวต่างประเทศและนักข่าวพลเมืองต้องมีภาพมาเสนอกับสังคมแน่นอน ดังนั้น คนเสื้อแดงต้องต่อสู้โดยใช้ข้อมูลจริง เหตุการณ์จริงที่มีหลักฐานสนับสนุนอย่างชัดเจน
การเคลื่อนไหวเรื่องการไม่ชอบธรรมของการสลายการชุมนุม อาจจะเป็นประเด็นที่เริ่มรณรงค์ได้โดยดูจากการที่ทหารเข้าทำร้ายหรือซ้อมผู้ชุมนุม และใช้ความรุนแรงเกินกว่าความจำเป็น (Excessive use of force) ตามที่ได้มีการแสดงภาพวีดิทัศน์ในการประชุมรัฐสภาโดย ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย และกรณีที่รัฐบาลตัดสินใจใช้ทหารสลายการชุมนุม โดยไม่ได้ใช้ตำรวจ ทั้งๆ ที่ตำรวจฝึกมาดีกว่า
ประเด็นที่ห้า คนเสื้อแดงต้องคิดถึงการลดบทบาทของ ทักษิณ ชินวัตร และ ส.ส.พรรคเพื่อไทยจากการเป็นแกนนำหลักการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง โดยควรจะดึงเอานักกิจกรรม นักสหภาพแรงงาน นักวิชาการ และบุคคลอื่นๆ ที่มีความหลากหลายทางสาขาอาชีพมามีบทบาทนำมากขึ้น การเอาทักษิณ มาอยู่ใกล้ชิดกับคนเสื้อแดงมากเกินไป อาจทำให้ชนชั้นกลาง นักวิชาการ นักกิจกรรมจำนวนมาก ที่ไม่พอใจกับการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลประชาธิปัตย์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากรัฐประหารกับกระบวนการทางการเมืองต่างๆ ยอมรับไม่ได้ที่จะต้องต่อสู้เพื่อทักษิณ
แม้ว่าในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ จะมีนโยบายที่สนับสนุนสวัสดิการของคนจนจำนวนมาก แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงนั้นเป็นช่วงที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคใกล้ ดังที่ดูได้จากการคุกคามสื่อและองค์กรอิสระ กรณีการนำนโยบายสงครามยาเสพติดมาใช้ นำไปสู่การทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 ศพ โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม การสลายการชุมนุมที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 78 ศพ รวมถึงการฆาตกรรมนักสิทธิมนุษยชนมากกว่า 20 คนในช่วงรัฐบาลทักษิณ และการปฏิเสธที่จะดำเนินการนำคนผิดมาลงโทษ
ท้ายที่สุด การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง ต้องไม่ให้ความสำคัญแค่ผลกระทบจากการรัฐประหารกับพรรคไทยรักไทยเก่า หรือการต่อต้านรัฐบาลชุดนี้แบบหัวชนฝาเพียงอย่างเดียว ถ้าคนเสื้อแดงต้องการให้การเคลื่อนไหวประสบความสำเร็จ คนเสื้อแดงต้องมีข้อเสนอแนะอย่างชัดเจนกับสังคมว่าจะนำพาสังคมไปทางไหนในระยะยาว
ขบวนการคนเสื้อแดงต้องสามารถอธิบายให้สังคมเห็นว่า การรัฐประหาร การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2550 และการเพิ่มบทบาทของตุลาการ มีผลกระทบอะไรกับพื้นที่ประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในปัจจุบัน การเรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญต้องมีการเรียกร้องที่กว้างขวาง โดยให้มีการเพิ่มบทบาทกับประชาชนมากขึ้นในกระบวนการต่างๆ โดยทำความเข้าใจกับประชาชนว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ทำให้การเลือกตั้งวุฒิสภาครึ่งหนึ่งหมดไป และลดบทบาทภาคประชาชนในการสรรหาองค์กรอิสระ อาทิเช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
นอกจากนี้ คนเสื้อแดงต้องทำงานในประเด็นอื่นๆ ที่ภาคประชาชนให้ความสนใจด้วย เพื่อสร้างแนวร่วม ยกตัวอย่างเช่น เรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายที่ลดพื้นที่การแสดงสิทธิเสรีภาพ อาทิเช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หน้าทัศนะวิจารณ์, วันที่ 28 เมษายน 2552
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/reader-opinion/20090428/
Thursday, April 2, 2009
Asean must prove itself
On the eve of its delayed annual summit, the 10-member bloc must show its policies are practical rather than rhetorical.
Thai Premier Abhisit Vejjajiva in Tokyo on February 6. Thailand will host the 14th Asean Summit beginning February 26. The Thai government, under the leadership of Prime Minister Abhisit Vejjajiva, will finally convene the 14th Asean Summit, postponed in December following violent political upheaval that saw the seizure of Bangkok's two principal airports by the militant People's Alliance for Democracy (PAD). Early speculation held that a rescheduled summit would face difficulties following attempts by the anti-government United Front for Democracy Against Dictatorship to petition Burma and Singapore to boycott because Thailand's government was undemocratic.
As the 10-member bloc prepares to mark its 42nd anniversary later this year - it was founded August 8, 1967 - observers wonder whether the organisation will maintain regional relevance.
During the adoption and ratification of the Asean Charter in 2007-08, member governments including Thailand insisted the charter would make the regional body a more "people-oriented" organisation. However, the text of the charter offers no clues to how the people in Asean countries can become involved in the body's decision-making process.
There are several instances in which Asean's relevancy has been questioned.
First, its policies have proven to be based mostly on rhetoric rather than a desire for practical implementation. The 1997 document "Asean Vision 2020" addressed the body's aim "to build a community of caring and sharing societies". But Thailand, as the current Asean chair, reiterates the quote on one hand but continues to label the Rohingya refugees from Burma as illegal migrants who should be detained and "pushed out" of the country. This contradicts the essence of "caring and sharing communities".
Second, the body's members do not take the organisation seriously. Last year, when Thailand and Cambodia were at their most critical level of dispute in decades over the ownership of the Preah Vihear temple complex - a dispute further energised by the PAD's ultra-nationalist fervor - Cambodian Prime Minister Hun Sen ignored Asean and brought the issue directly to the UN Security Council. He surely must have been aware that there is a conflict resolution mechanism in Asean to which he could refer the issue.
A former senior member at the Asean Foundation-a vital organisation within the bloc tasked with "promot[ing] greater awareness of Asean and interaction among the peoples of Asean" - told me recently that the Asia-Europe Foundation has been receiving far more funding from Asean governments than the body's own foundation.
Similarly, the Asean People's Assembly (APA), a yearly forum organized by the body's Institute for Strategic and International Studies in 2001, which attempts to bridge gaps between policymakers and civil society groups, is also facing a similar problem. While it recognises APA as an "important consultative mechanism for developing more people-oriented policies" within Asean's Vientiane Action Program, adopted in 1999, Asean is still not supporting the initiative. as this mechanism faces substantial financial constraints on its continued operations.
Third, participatory democracy is a foreign term among Asean governments. The charter - the group's first document to address people-oriented policies - was prepared discreetly, despite calls by civic groups for public discussion or even a referendum vote.
Last and most importantly, civil society and Asean observers view the body as unable to meet human rights challenges. While its bureaucrats often credit Asean for having secured peace in the region since its establishment, they forget to acknowledge that the body stood silent during the genocide in Cambodia, which at the time was not a member of the bloc.
Similarly, Asean allowed Indonesia to take extreme measures against East Timor - viewed by Jakarta as a renegade province - between 1974 and 1999. The conflicts in Cambodia and East Timor claimed the lives of approximately two million and 102,800, respectively.
And let's not forget that the human rights situation in Burma has not improved since its admission to the bloc in 1997.
Though the Asean Charter is currently working to establish the bloc's human rights body (AHRB) by appointing a High-Level Panel to draft the terms of reference (TOR), the plan has inspired very little hope for success among those following its development. The confidential text of the TOR highlights Asean's continued insistence on the principle of non-interference and its policy of vigorously defending the bloc against external interference on human rights issues.
Furthermore, it is generally known that the AHRB will focus on promotional roles rather than protecting human rights victims - in other words, that it will serve as a window-dressing mechanism for Asean.
On February 20-22, close to 1,000 civil society representatives will come together under the banner of the Asean People's Forum in Bangkok to discuss issues affecting them. One question that will top the agenda is the relevance of the 10-member bloc. The forum is expected to draft a statement to be delivered to Asean leaders on how the body can better serve them. If Asean insists on describing itself as a "people-oriented" organisation, it must surely begin acting like one by responding to the needs of its people on issues such as democracy and human rights, and thereby becoming relevant to the people it claims to serve.
This article is first published on 20 February 2009, The Phnom Penh Post, http://www.phnompenhpost.com/index.php/2009022024322/National-news/Asean-must-prove-itself.html
Thai Premier Abhisit Vejjajiva in Tokyo on February 6. Thailand will host the 14th Asean Summit beginning February 26. The Thai government, under the leadership of Prime Minister Abhisit Vejjajiva, will finally convene the 14th Asean Summit, postponed in December following violent political upheaval that saw the seizure of Bangkok's two principal airports by the militant People's Alliance for Democracy (PAD). Early speculation held that a rescheduled summit would face difficulties following attempts by the anti-government United Front for Democracy Against Dictatorship to petition Burma and Singapore to boycott because Thailand's government was undemocratic.
As the 10-member bloc prepares to mark its 42nd anniversary later this year - it was founded August 8, 1967 - observers wonder whether the organisation will maintain regional relevance.
During the adoption and ratification of the Asean Charter in 2007-08, member governments including Thailand insisted the charter would make the regional body a more "people-oriented" organisation. However, the text of the charter offers no clues to how the people in Asean countries can become involved in the body's decision-making process.
There are several instances in which Asean's relevancy has been questioned.
First, its policies have proven to be based mostly on rhetoric rather than a desire for practical implementation. The 1997 document "Asean Vision 2020" addressed the body's aim "to build a community of caring and sharing societies". But Thailand, as the current Asean chair, reiterates the quote on one hand but continues to label the Rohingya refugees from Burma as illegal migrants who should be detained and "pushed out" of the country. This contradicts the essence of "caring and sharing communities".
Second, the body's members do not take the organisation seriously. Last year, when Thailand and Cambodia were at their most critical level of dispute in decades over the ownership of the Preah Vihear temple complex - a dispute further energised by the PAD's ultra-nationalist fervor - Cambodian Prime Minister Hun Sen ignored Asean and brought the issue directly to the UN Security Council. He surely must have been aware that there is a conflict resolution mechanism in Asean to which he could refer the issue.
A former senior member at the Asean Foundation-a vital organisation within the bloc tasked with "promot[ing] greater awareness of Asean and interaction among the peoples of Asean" - told me recently that the Asia-Europe Foundation has been receiving far more funding from Asean governments than the body's own foundation.
Similarly, the Asean People's Assembly (APA), a yearly forum organized by the body's Institute for Strategic and International Studies in 2001, which attempts to bridge gaps between policymakers and civil society groups, is also facing a similar problem. While it recognises APA as an "important consultative mechanism for developing more people-oriented policies" within Asean's Vientiane Action Program, adopted in 1999, Asean is still not supporting the initiative. as this mechanism faces substantial financial constraints on its continued operations.
Third, participatory democracy is a foreign term among Asean governments. The charter - the group's first document to address people-oriented policies - was prepared discreetly, despite calls by civic groups for public discussion or even a referendum vote.
Last and most importantly, civil society and Asean observers view the body as unable to meet human rights challenges. While its bureaucrats often credit Asean for having secured peace in the region since its establishment, they forget to acknowledge that the body stood silent during the genocide in Cambodia, which at the time was not a member of the bloc.
Similarly, Asean allowed Indonesia to take extreme measures against East Timor - viewed by Jakarta as a renegade province - between 1974 and 1999. The conflicts in Cambodia and East Timor claimed the lives of approximately two million and 102,800, respectively.
And let's not forget that the human rights situation in Burma has not improved since its admission to the bloc in 1997.
Though the Asean Charter is currently working to establish the bloc's human rights body (AHRB) by appointing a High-Level Panel to draft the terms of reference (TOR), the plan has inspired very little hope for success among those following its development. The confidential text of the TOR highlights Asean's continued insistence on the principle of non-interference and its policy of vigorously defending the bloc against external interference on human rights issues.
Furthermore, it is generally known that the AHRB will focus on promotional roles rather than protecting human rights victims - in other words, that it will serve as a window-dressing mechanism for Asean.
On February 20-22, close to 1,000 civil society representatives will come together under the banner of the Asean People's Forum in Bangkok to discuss issues affecting them. One question that will top the agenda is the relevance of the 10-member bloc. The forum is expected to draft a statement to be delivered to Asean leaders on how the body can better serve them. If Asean insists on describing itself as a "people-oriented" organisation, it must surely begin acting like one by responding to the needs of its people on issues such as democracy and human rights, and thereby becoming relevant to the people it claims to serve.
This article is first published on 20 February 2009, The Phnom Penh Post, http://www.phnompenhpost.com/index.php/2009022024322/National-news/Asean-must-prove-itself.html
Subscribe to:
Posts (Atom)