รูปผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาส์ในบังกลาเทศ
ที่มาของภาพ http://www.zimphotography.com/editorial/publications/Yale.htm
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550 หนังสือพิมพ์มติชน ปีที่ 30 ฉบับที่ 10574 ได้ลงรายงานพิเศษ เรื่อง จับตา "ภัยความมั่นคงใหม่" "อาระกัน" "โรฮิงยา" ระวัง...เติมเชื้อไฟใต้ โดยทีมข่าวภูมิภาค ซึ่งข้อมูลหลายส่วนที่ปรากฏในบทความเป็นข้อมูลที่ไม่มีหลักฐานการยืนยัน และมีความรุนแรงเกินความเป็นจริง ซึ่งจะส่งผลกระทบกับชาวโรฮินยาส์โดยตรง รวมไปถึงความเข้าใจผิดต่อชาวมุสลิมด้วย
โรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐอารากัน (Arakan) เป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐ และในอดีตได้รับการเหยียดหยามและเลือกปฎิบัติโดยรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายแบ่งแยกแล้วปกครองของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ในสมัยที่พม่ายังตกเป็นอาณานิคม ในหลาย ๆ กรณี ชาวโรฮิงยาส์จะได้รับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากโดยรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งมีความแตกต่างกัน ตั้งแต่การบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่
ตามกฎหมายสัญชาติพม่าปี 1982 (Burma Citizenship Law) ชาวโรฮิงยาส์ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลทหารถ้าจะออกจากพื้นที่ และต้องจ่ายเงินถ้าจะออกจากพื้นที่ ทำให้ชาวโรฮิงยาส์มีสถานภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำมากเนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือค้าขายอย่างต่อเนื่องได้ (จากรายงาน สถานการณ์ในพม่า มกราคม-ธันวาคม 2004 ขององค์การนิรโทษกรรมสากล)
ชาวโรฮิงยาส์ยังถูกละเมิดไม่ให้รับสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ ห้ามไม่ให้แต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารพม่า และ นับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสถานการณ์ความเป็นอยู่ที่เลวร้ายที่สุดในพม่า ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงยาส์ต้องหนีภัยจากพม่าเป็นจำนวนมาก หากพิจารณา ณ จุดนี้แล้วก็จะพบว่า ชาวโรฮิงยาส์เหล่านี้จึงมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย ซึ่งโดยหลักปฏิบัติของนานาชาติแล้ว ผู้ลี้ภัย หรือผู้หนีภัยความตาย จะต้องไม่ถูกส่งกลับเพื่อไปเผชิญหน้ากับภาวะความเสี่ยงต่อชีวิต และจะต้องได้รับการช่วยเหลือคุ้มครองจากประเทศที่เข้าไปลี้ภัยด้วยหลักมนุษยธรรมในฐานะมนุษยชนคนหนึ่ง
ชาวโรฮิงยาส์ มีความแตกต่างกับประชาชนในรัฐอารากัน (คือเชื้อชาติยะไข่) ทั้งในด้านเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม ภาษาที่พูด คือ ภาษาที่คล้ายกับภาษาที่พูดกันในบังกลาเทศ คือ ภาษาเบงกาลี
รัฐบาลทหารพม่ามีมุมมองว่าประชาชนชาวโรฮิงยาส์เข้ามาอยู่ในพม่าไม่นาน แต่จริง ๆ แล้วเข้ามาตั้งแต่ศตวรรษที่เจ็ด ทำให้รัฐบาลทหารมีอคติเป็นพิเศษว่าไม่ได้เป็นประชาชนชาวพม่า รวมถึงความแตกต่างในศาสนาและภาษา แต่วิถีชีวิต อีกทั้งด้วยประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางด้านเขตแดนระหว่างบังกลาเทศกับพม่าเลยทำให้ชาวโรฮิงยาส์ถูกมองว่าเป็นอื่นมากกว่าเดิม
ปัจจุบันในรัฐอารากันมีประชาชนทั้งหมดประมาณสามล้านคน และประชากรระหว่างเจ็ดแสนถึง 1 ล้านกว่าเป็นชาวโรฮิงยาส์ ในปี 1992 กระทรวงต่างประเทศของ SPDC ได้ออกแถลงการณ์ไม่รวมชาวโรฮิงยาส์ไว้ใน 135 เชื้อชาติในพม่า และจะไม่ให้การช่วยเหลือใด ๆ ทั้งสิ้น
และในปี 1978 รัฐบาลทหารพม่ามีนโยบาย "สร้างชาติพม่า" ที่เพื่อที่จะ "กำจัดชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย" ทำให้ชาวโรฮิงยาส์ได้รับผลกระทบอย่างมาก
ชาวโรฮิงยาส์อยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาหลายปีแล้วไม่ใช่ว่าเพิ่งเข้ามา หลาย ๆ ส่วนมีส่วนร่วมในขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าในปี ค.ศ. 1988 แต่ด้วยวิถีชีวิตที่นับถือศาสนามุสลิมทำให้มีข้อจำกัด
ปัจจุบันมีชาวโรฮิงยาส์ที่หลบภัยออกมาจากรัฐอารากันจำนวนมาก ตั้งแต่ในบังกลาเทศ ปากีสถาน มาเลเซีย และเชื่อว่ามีจำนวนมากกว่าหนึ่งหมื่นคนในประเทศไทย แต่สถานการณ์ในประเทศไทยนับว่าค่อนข้างจะเลวร้ายเช่นเดียวกัน เนื่องจากกลุ่มชนกลุ่มน้อย 14 กลุ่มที่รัฐบาลไทยกำลังตรวจสถานภาพทางกฎหมาย ชาวโรฮิงยาส์ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ทั้ง ๆ ที่ในกลุ่มนี้มีประชาชนชาวพม่าอยู่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ไทยยังมีความรู้เกี่ยวกับชาวโรฮิงยาส์น้อยเลยไม่ได้รับสิทธิใด ๆ เลย
อย่างที่กล่าวมาข้างต้น การที่ชาวโรฮินยาส์เข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ก็เนื่องด้วยต้องการหนีความยากลำบากที่เกิดจากการถูกกดขี่โดยรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ซึ่งการเข้ามาของชาวโรฮิงยาส์ในประเทศไทยก็ไม่แตกต่างชนชาติอื่นๆ ในพม่าตอนนี้ ร่วมถึงการเดินทางเข้ามาในอดีตของชาวอินเดีย ชาวจีน ชาวเวียดนาม บ้างก็หนีภัยสงคราม บ้างก็หนีการกดขี่ข่มเหง บ้างก็หนีความอดยาก ซึ่งก็ไม่ต่างจากปัจจุบันของคนไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศหลายหมื่นคน ก็ต้องการหนีความยากลำบากเช่นเดียวกัน การเขียนบทความชิ้นนี้ก็ด้วยความหวังว่าประชาชนไทยจะต้อนรับผู้ที่เดือดร้อนจากความทุกข์ยาก ให้สามารถมีชีวิตที่ปกติสุขในประเทศไทยได้ ไม่ใช่จะต้อนรับแต่เพียงนายทุนกับนักท่องเที่ยวรวยๆ เพียงอย่างเดียว เพราะในร่างกายของเราทุกคนที่เป็นเชื้อชาติไทย แต่ในความเป็นจริงกลับมีเชื้อชาติต่างๆอยู่ในร่างกายหลายเชื้อชาติ การเข้ามาในประเทศไทยของคนชื้อชาติต่างๆมีมานานแล้ว มิหนำซ้ำคนเหล่านี้ก็ได้มาสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้กับสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบันด้วย
การที่รายงานพิเศษของหนังสือพิมพ์มติชนพยายามที่จะเชื่อมโยงชาวโรฮิงยาส์ที่เข้าเมืองผิดกฎหมายเข้ากับขบวนการที่ผิดกฎหมายและปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะเท่าที่เรารับรู้กันแรงงานข้ามชาติกลุ่มต่างๆ ที่เข้ามาให้ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นคนที่ทำงานสุจริต เช่น ทำงานบ้าน ทำงานในโรงงาน ทำงานในภาคอุตสาหกรรมประมง ทำงานก่อสร้าง ทำงานในร้านอาหาร เป็นต้นและด้วยเหตุผลที่แรงงานเหล่านี้มีสถานะที่ผิดกฎหมาย จึงเป็นช่องทางให้เกิดการโดนกดขี่จากนายจ้างและเจ้าหน้าที่รัฐบางคนอีกด้วย
เมื่อพูดถึงการทำงานที่ผิดกฎหมายในหมู่บุคคลที่เข้าเมืองผิดกฎหมายก็อาจจะมีบ้างเช่นเดียวกับสังคมทุกสังคม และก็เช่นเดียวกับสังคมไทยด้วย แต่เราจะต้องไม่เหมารวมทั้งหมด เพราะมันเป็นเรื่องของบุคคลไม่ใช่เชื้อชาติ เช่นเดียวกันในรายงานของมติชน พยายามที่จะเชื่อมโยงชาวโรฮิงยาส์เข้ากับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการมองด้วยทัศนคติ "มุสลิมเท่ากับการก่อการร้าย" ซึ่งการมองเช่นนี้เป็นการมองที่ไม่เข้าใจสถานการณ์ในภาคใต้แล้ว ยังเป็นการมองที่ช่วยสนับสนุนการเกลียดชังกันทางเชื้อชาติเพิ่มขึ้นด้วย เพราะคนมุสลิมถูกกดขี่จริงในภาคใต้และการถูกกดขี่ก็เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐไทย แต่การต่อสู้เพื่อต้องการปลดปล่อยจากการกดขี่นั้นมีหลายแนวคิด เหตุการณ์ที่เกิดในภาคใต้ก็เป็นเพียงแนวคิดหนึ่ง และใช่ว่าคนมุสลิมทุกคนจะเห็นด้วยกับวิธีการการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในภาคใต้ แต่การที่คนมุสลิมจะเห็นใจกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันก็เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นผมหวังว่ารัฐบาลไทยจะไม่ใช้ข้ออ้างนี้ในการผลักดันชาวโรฮิงยาส์ไปเผชิญหน้ากับความตายในประเทศพม่า ซึ่งเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมอย่างยิ่ง
บทความนี้เขียนกับ จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ, พิมพ์ในประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์, วันที่ 3 มีนาคม 2007, http://www.prachatai.com/journal/2007/03/11803
โรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐอารากัน (Arakan) เป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐ และในอดีตได้รับการเหยียดหยามและเลือกปฎิบัติโดยรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายแบ่งแยกแล้วปกครองของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ในสมัยที่พม่ายังตกเป็นอาณานิคม ในหลาย ๆ กรณี ชาวโรฮิงยาส์จะได้รับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากโดยรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งมีความแตกต่างกัน ตั้งแต่การบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่
ตามกฎหมายสัญชาติพม่าปี 1982 (Burma Citizenship Law) ชาวโรฮิงยาส์ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลทหารถ้าจะออกจากพื้นที่ และต้องจ่ายเงินถ้าจะออกจากพื้นที่ ทำให้ชาวโรฮิงยาส์มีสถานภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำมากเนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือค้าขายอย่างต่อเนื่องได้ (จากรายงาน สถานการณ์ในพม่า มกราคม-ธันวาคม 2004 ขององค์การนิรโทษกรรมสากล)
ชาวโรฮิงยาส์ยังถูกละเมิดไม่ให้รับสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ ห้ามไม่ให้แต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารพม่า และ นับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสถานการณ์ความเป็นอยู่ที่เลวร้ายที่สุดในพม่า ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงยาส์ต้องหนีภัยจากพม่าเป็นจำนวนมาก หากพิจารณา ณ จุดนี้แล้วก็จะพบว่า ชาวโรฮิงยาส์เหล่านี้จึงมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย ซึ่งโดยหลักปฏิบัติของนานาชาติแล้ว ผู้ลี้ภัย หรือผู้หนีภัยความตาย จะต้องไม่ถูกส่งกลับเพื่อไปเผชิญหน้ากับภาวะความเสี่ยงต่อชีวิต และจะต้องได้รับการช่วยเหลือคุ้มครองจากประเทศที่เข้าไปลี้ภัยด้วยหลักมนุษยธรรมในฐานะมนุษยชนคนหนึ่ง
ชาวโรฮิงยาส์ มีความแตกต่างกับประชาชนในรัฐอารากัน (คือเชื้อชาติยะไข่) ทั้งในด้านเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม ภาษาที่พูด คือ ภาษาที่คล้ายกับภาษาที่พูดกันในบังกลาเทศ คือ ภาษาเบงกาลี
รัฐบาลทหารพม่ามีมุมมองว่าประชาชนชาวโรฮิงยาส์เข้ามาอยู่ในพม่าไม่นาน แต่จริง ๆ แล้วเข้ามาตั้งแต่ศตวรรษที่เจ็ด ทำให้รัฐบาลทหารมีอคติเป็นพิเศษว่าไม่ได้เป็นประชาชนชาวพม่า รวมถึงความแตกต่างในศาสนาและภาษา แต่วิถีชีวิต อีกทั้งด้วยประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางด้านเขตแดนระหว่างบังกลาเทศกับพม่าเลยทำให้ชาวโรฮิงยาส์ถูกมองว่าเป็นอื่นมากกว่าเดิม
ปัจจุบันในรัฐอารากันมีประชาชนทั้งหมดประมาณสามล้านคน และประชากรระหว่างเจ็ดแสนถึง 1 ล้านกว่าเป็นชาวโรฮิงยาส์ ในปี 1992 กระทรวงต่างประเทศของ SPDC ได้ออกแถลงการณ์ไม่รวมชาวโรฮิงยาส์ไว้ใน 135 เชื้อชาติในพม่า และจะไม่ให้การช่วยเหลือใด ๆ ทั้งสิ้น
และในปี 1978 รัฐบาลทหารพม่ามีนโยบาย "สร้างชาติพม่า" ที่เพื่อที่จะ "กำจัดชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย" ทำให้ชาวโรฮิงยาส์ได้รับผลกระทบอย่างมาก
ชาวโรฮิงยาส์อยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาหลายปีแล้วไม่ใช่ว่าเพิ่งเข้ามา หลาย ๆ ส่วนมีส่วนร่วมในขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าในปี ค.ศ. 1988 แต่ด้วยวิถีชีวิตที่นับถือศาสนามุสลิมทำให้มีข้อจำกัด
ปัจจุบันมีชาวโรฮิงยาส์ที่หลบภัยออกมาจากรัฐอารากันจำนวนมาก ตั้งแต่ในบังกลาเทศ ปากีสถาน มาเลเซีย และเชื่อว่ามีจำนวนมากกว่าหนึ่งหมื่นคนในประเทศไทย แต่สถานการณ์ในประเทศไทยนับว่าค่อนข้างจะเลวร้ายเช่นเดียวกัน เนื่องจากกลุ่มชนกลุ่มน้อย 14 กลุ่มที่รัฐบาลไทยกำลังตรวจสถานภาพทางกฎหมาย ชาวโรฮิงยาส์ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ทั้ง ๆ ที่ในกลุ่มนี้มีประชาชนชาวพม่าอยู่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ไทยยังมีความรู้เกี่ยวกับชาวโรฮิงยาส์น้อยเลยไม่ได้รับสิทธิใด ๆ เลย
อย่างที่กล่าวมาข้างต้น การที่ชาวโรฮินยาส์เข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ก็เนื่องด้วยต้องการหนีความยากลำบากที่เกิดจากการถูกกดขี่โดยรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ซึ่งการเข้ามาของชาวโรฮิงยาส์ในประเทศไทยก็ไม่แตกต่างชนชาติอื่นๆ ในพม่าตอนนี้ ร่วมถึงการเดินทางเข้ามาในอดีตของชาวอินเดีย ชาวจีน ชาวเวียดนาม บ้างก็หนีภัยสงคราม บ้างก็หนีการกดขี่ข่มเหง บ้างก็หนีความอดยาก ซึ่งก็ไม่ต่างจากปัจจุบันของคนไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศหลายหมื่นคน ก็ต้องการหนีความยากลำบากเช่นเดียวกัน การเขียนบทความชิ้นนี้ก็ด้วยความหวังว่าประชาชนไทยจะต้อนรับผู้ที่เดือดร้อนจากความทุกข์ยาก ให้สามารถมีชีวิตที่ปกติสุขในประเทศไทยได้ ไม่ใช่จะต้อนรับแต่เพียงนายทุนกับนักท่องเที่ยวรวยๆ เพียงอย่างเดียว เพราะในร่างกายของเราทุกคนที่เป็นเชื้อชาติไทย แต่ในความเป็นจริงกลับมีเชื้อชาติต่างๆอยู่ในร่างกายหลายเชื้อชาติ การเข้ามาในประเทศไทยของคนชื้อชาติต่างๆมีมานานแล้ว มิหนำซ้ำคนเหล่านี้ก็ได้มาสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้กับสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบันด้วย
การที่รายงานพิเศษของหนังสือพิมพ์มติชนพยายามที่จะเชื่อมโยงชาวโรฮิงยาส์ที่เข้าเมืองผิดกฎหมายเข้ากับขบวนการที่ผิดกฎหมายและปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะเท่าที่เรารับรู้กันแรงงานข้ามชาติกลุ่มต่างๆ ที่เข้ามาให้ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นคนที่ทำงานสุจริต เช่น ทำงานบ้าน ทำงานในโรงงาน ทำงานในภาคอุตสาหกรรมประมง ทำงานก่อสร้าง ทำงานในร้านอาหาร เป็นต้นและด้วยเหตุผลที่แรงงานเหล่านี้มีสถานะที่ผิดกฎหมาย จึงเป็นช่องทางให้เกิดการโดนกดขี่จากนายจ้างและเจ้าหน้าที่รัฐบางคนอีกด้วย
เมื่อพูดถึงการทำงานที่ผิดกฎหมายในหมู่บุคคลที่เข้าเมืองผิดกฎหมายก็อาจจะมีบ้างเช่นเดียวกับสังคมทุกสังคม และก็เช่นเดียวกับสังคมไทยด้วย แต่เราจะต้องไม่เหมารวมทั้งหมด เพราะมันเป็นเรื่องของบุคคลไม่ใช่เชื้อชาติ เช่นเดียวกันในรายงานของมติชน พยายามที่จะเชื่อมโยงชาวโรฮิงยาส์เข้ากับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการมองด้วยทัศนคติ "มุสลิมเท่ากับการก่อการร้าย" ซึ่งการมองเช่นนี้เป็นการมองที่ไม่เข้าใจสถานการณ์ในภาคใต้แล้ว ยังเป็นการมองที่ช่วยสนับสนุนการเกลียดชังกันทางเชื้อชาติเพิ่มขึ้นด้วย เพราะคนมุสลิมถูกกดขี่จริงในภาคใต้และการถูกกดขี่ก็เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐไทย แต่การต่อสู้เพื่อต้องการปลดปล่อยจากการกดขี่นั้นมีหลายแนวคิด เหตุการณ์ที่เกิดในภาคใต้ก็เป็นเพียงแนวคิดหนึ่ง และใช่ว่าคนมุสลิมทุกคนจะเห็นด้วยกับวิธีการการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในภาคใต้ แต่การที่คนมุสลิมจะเห็นใจกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันก็เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นผมหวังว่ารัฐบาลไทยจะไม่ใช้ข้ออ้างนี้ในการผลักดันชาวโรฮิงยาส์ไปเผชิญหน้ากับความตายในประเทศพม่า ซึ่งเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมอย่างยิ่ง
บทความนี้เขียนกับ จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ, พิมพ์ในประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์, วันที่ 3 มีนาคม 2007, http://www.prachatai.com/journal/2007/03/11803
No comments:
Post a Comment